ดอกไม่สมบูรณ์เพศ



ดอกไม่สมบูรณ์เพศ



ตำลึง 
เป็นไม้เลื้อยที่มีมือจับใช้สำหรับเลื้อยเกาะต้นไม้ใหญ่หรือไม้ปักหลัก มีสีเขียวจัดเป็นสมุนไพรไทย ตำลึงมีชื่อท้องถิ่นอื่นอีกคือ ผักแคบ แคเด๊าะ ตำลึงสี่บาท ผักตำนิน 
ชื่อวิทยาศาสตร์: Coccinia grandis
สายพันธุ์ที่เหนือกว่าสกุลค็อกซิเนีย
ชั้นสปีชีส์

สรรพคุณ
ตำลึงอุดมไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์สูง เช่น สารเบต้าแคโรทีน ที่ช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง และหัวใจขาดเลือด มีแคลเซียมช่วยบำรุงกระดูก และฟัน และยังมีฟอสฟอรัส เหล็ก ไนอาซิน วิตามินซีและอื่น ๆ นอกจากนี้ จากการค้นคว้าของสถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล พบว่า ตำลึงมีเส้นใยอาหารที่สามารถช่วยลดอัตราเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็ง ในกระเพาะอาหาร อีกด้วย สำหรับตำรายาแผนโบราณ ตำลึงถือเป็นยาเย็น ใบช่วยขับพิษร้อน ถอนพิษไข้ แก้อาการแพ้ อักเสบ แมลงมีพิษกัดต่อย แก้แสบคัน เจ็บตา ตาแดงและตาแฉะ แก้โรคผิวหนัง และลดน้ำตาลในเลือด
ราก : แก้ดวงตาเป็นฝ้า ลดความอ้วน แก้ไข้ทุกชนิด ดับพิษทั้งปวง ฝนทาภายนอก แก้ฝีต่างๆ แก้ปวด
บวม แก้พิษร้อนภายใน แก้พิษแมลงป่องหรือตะขาบต่อย
ต้น : กำจัดกลิ่นตัว น้ำจากต้น รักษาเบาหวาน
เปลือกราก : เป็นยาถ่าย ยาระบาย
เถา : แก้ฝี ทำให้ฝีสุก แก้ปวดตา แก้โรคตา แก้ตาฝ้า ตาแฉะ แก้พิษอักเสบจากลูกตา ดับพิษร้อน ถอนพิษ เป็นยาโรคผิวหนัง แก้เบาหวาน
ใบ : เป็นยาพอกรักษาผิวหนัง รักษามะเร็งเพลิง แก้ท้องอืด แก้ท้องเฟ้อ แก้จุกเสียด แก้หืด รักษาผื่นคันที่เกิดจากพิษของหมามุ้ย ตำแย บุ้งร่าน ใช้เป็นยาเขียว แก้ไข้ ดับพิษร้อน ถอนพิษทั้งปวง แก้ปวดแสบปวดร้อน ถอนพิษคูน แก้คัน แก้แมลงกัดต่อย แก้ไข้หวัด แก้พิษกาฬ แก้เริม แก้งูสวัด
ผล : แก้ฝีแดง
ทั้งห้า รักษาโรคผิวหนัง รักษาอาการอักเสบของหลอดลม รักษาเบาหวาน
สรรพคุณทางยาและวิธีใช้
รักษาโรคเบาหวาน : ใช้เถาแก่ๆ ประมาณ กำมือ ต้มกับน้ำ หรือน้ำคั้นจากผลดิบ ดื่มวันละ ครั้ง เช้า-เย็น จะสามารถช่วยลดน้ำตาลในเลือดได้
ลดอาการท้องอืดท้องเฟ้อ : ควรรับประทานสด ๆ เพราะเอนไซม์ในตำลึงจะย่อยสลายง่ายเมื่อโดนความร้อน
ลดอาการคัน อาการอักเสบเนื่องจากแมลงกัดต่อยและพืชมีพิษ : นำใบตำลึงสด 2-20 ใบ ตำให้ละเอียดผสมกับน้ำ คั้นเอาน้ำ ทาบริเวณที่เป็นจนกว่าจะหาย (ใช้ได้ดี สำหรับหมดคันไฟ หรือใบตำแย)
แผลอักเสบ : ใช้ใบหรือรากสด ตำพอกบริเวณที่เป็น
แก้งูสวัดเริม : ใช้ใบสด กำมือ ล้างให้สะอาด ผสมพิมเสนหรือดินสอพอง ใน ส่วน พอกหรือทาบริเวณที่เกิดอาการ
แก้ตาช้ำตาแดง : ตัดเถาเป็นท่อนยาวประมาณ นิ้วนำมาคลึงพอช้ำ แล้วเป่า จะเกิดฟองใช้หยอดตา
ทำให้ใบหน้าเต่งตึง : นำยอดตำลึง 1/2 ถ้วย น้ำผึ้งแท้ 1/2 ถ้วย นำมาผสม ปั่นให้ละเอียด พอกหน้า ทิ้งไว้ 20 นาที แล้วล้างออก ทำทุกวันได้จะดีมาก
การปลูกและการขยายพันธุ์

ตำลึงมีการปลูกและขยายพันธุ์ได้ วิธีคือ
เพาะเมล็ด
ปักชำด้วยเถา

การเพาะเมล็ด

มีวิธีการง่ายดังนี้

เตรียมดินเหมือนปลูกผักทั่วไปผสมปุ๋ยชีวภาพหรือปุ๋ยคอกก็ได้ นำผลตำลึงแก่สีแดง แกะเอาเมล็ดออกมาโรยบนดินที่เตรียมไว้ โรยดินกลบหรือใช้ใบไม้แห้งกลบบาง ๆ รดน้ำให้ชุ่มเช้าเย็น ตำลึงชอบดินชุ่มแต่อย่าให้แฉะเพราะจะเกิดโรคโคนเน่าได้เมื่อต้นงอกขึ้นมาสักประมาณ ซ.ม. เริ่มมีมือเกาะให้ทำค้าง (เนื่องจากตำลึงไต่ขึ้นสู่ที่สูงเพื่อรับแดด) เหมาะที่สุดคือ ความสูงระดับ เมตรขึ้นไปแต่ไม่ควรสูงเกิน เมตร เพราะไม่สะดวกในการเก็บยอดตำลึง โดยใช้ไม้ไผ่ต้นเล็ก ต้นปักเป็น เส้า รอบปลายเชือกเข้าไว้ด้วยกัน ผูกด้วยเชือกกล้วยหรือเชือกปอ ใช้วัสดุที่ย่อยสลายได้ตามธรรมชาติเพื่อช่วยกันอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอีกทางหนึ่ง หรือหากมีรั้วไม้ระแนงก็ถือโอกาสใช้ประโยชน์โดยโรยเมล็ดไปตามริมรั้วเลยทีเดียว
ตำลึงต้องได้รับแสงแดดตลอดทั้งวัน ลมโกรกผ่านได้ ตำลึงจะสังเคราะห์แสงแดดคายไอน้ำได้เต็มที่ ควรปล่อยให้มดแดงขึ้น เพราะจะช่วยกินเพลี้ยและแมลงที่จะมากัดกินตำลึง
ปักชำด้วยเถา
การปลูกตำลึงเพื่อการค้านั้นนิยมขยายพันธุ์ด้วยวิธีนี้เนื่องจากตำลึงจะเจริญเติบโตเร็วกว่าการเพาะด้วยเมล็ด
วิธีการปักชำ
ให้นำเถาที่แก่พอสมควรมาตัดให้ยาว 15 - 20 ซม. ปักชำในหลุมปลูกที่ได้เตรียมไว้แล้ว (ลักษณะขั้นตอนการปลูกเหมือนกับหัวข้อการเพาะเมล็ด) พอเจริญเติบโตเต็มที่ประมาณ เดือนก็สามารถเก็บยอดมาปรุงอาหารได้


ดอกไม่สมบูรณ์เพศ





เตย 

หรือ Pandanus เป็นสกุลของพืชใบเลี้ยงเดี่ยวที่มีสมาชิกประมาณ 600 สปีชีส์ มีลักษณะคล้ายปาล์ม ดอกแยกเพศแยกต้น เป็นพืชพื้นเมืองในโลกเก่าเขตร้อน อยู่ในอันดับ Pandanales วงศ์ Pandanaceae 

ชื่อวิทยาศาสตร์: Pandanus

สายพันธุ์ที่เหนือกว่าวงศ์เตยทะเล
ตระกูลอันดับเตยทะเล
ชั้นสกุล

สรรพคุณเตย/ใบเตย
ใบเตย
– แก้อาการเป็นไข้
– ช่วยให้ร่างกายสดชื่น ช่วยฟื้นฟูร่างกายจากอาการบาดเจ็บหรือหลังจากการหายป่วย
– แก้อาการท้องอืด อาหารไม่ย่อย
– แก้ร้อนใน
– แก้กระหายน้ำ
– แก้อ่อนเพลีย
– ช่วยขับปัสสาวะ
– บำรุงหัวใจ ชูกำลัง
– ดับพิษไข้
– รักษาโรคหัด
– รักษาโรคสุกใส
– แก้โรคผิวหนัง
– ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้
– บรรเทาอาการอาหารไม่ย่อย
– แก้อาการท้องอืด
– ลดความดันเลือด
– ช่วยกระตุ้นให้หัวใจเต้นปกติ
น้ำมันหอมระเหยจากใบเตย
– แก้อาการหน้าท้องเกร็ง
– แก้ปวดตามข้อ และกระดูก
– ช่วยให้ผ่อนคลาย ลดอาการปวดหัว
– แก้โรคลมชัก
– ลดอาการเจ็บคอ ลดอาการอักเสบในลำคอ
ราก และลำต้นเตย
– ใช้บำรุงหัวใจ
– รักษาโรคเบาหวาน
– ทำให้คอชุ่มชื่น แก้กระหายน้ำ
– แก้ขับเบาพิการ ช่วยขับปัสสาวะ
– ช่วยละลายก้อนนิ่วในไต
– แก้หนองใน
– แก้พิษโลหิต
– แก้กล้ามเนื้ออ่อนเพลีย
– แก้ตานซางในเด็ก
การปลูกเตย
การปลูกเตยในปัจจุบัน นิยมปลูกด้วยการแยกเหง้าหรือหน่อปลูก ทั้งนี้ เตยสามารถขึ้นได้ดีในที่ชุ่ม และทนต่อสภาพดินชื้นแฉะได้ดี แต่ควรเลือกพื้นที่ปลูกไม่ให้น้ำท่วมขังง่าย
การเตรียมแปลง
แปลงปลูกเตย ควรไถแปลง และตากดินก่อน 5-10 วัน พร้อมกำจัดวัชพืชออกให้หมด ก่อนหว่านด้วยปุ๋ยคอก อัตรา ตัน/ไร่ และปุ๋ยยูเรีย อัตรา 10 กิโลกรัม/ไร่ พร้อมไถกลบ
การปลูก
การปลูกเตย ควรปลูกในช่วงฤดูฝน เพราะดินจะชื้นดี ทำให้ต้นเตยติด และตั้งตัวได้ง่าย ด้วยการขุดหลุมปลูกเป็นแถว ระยะหลุม และระยะแถวที่ 50 เซนติเมตร หรือที่ 30 x 50 เซนติเมตร ก่อนนำต้นพันธุ์เตยลงปลูก
การให้น้ำ
หลังจากปลูกเตยเสร็จ ควรให้น้ำทันที แต่หากดินชื้นมากก็ไม่จำเป็นต้องให้ และให้น้ำเป็นประจำทุกๆ 7-10 วัน ขึ้นอยู่กับความชื้นดิน และฝนที่ตก
การใส่ปุ๋ย
หลังจากปลูกแล้ว 2-3 เดือน ให้ใส่ปุ๋ยสูตร 24-12-12 อัตรา 10 กิโลกรัม/ไร่ หยอดรอบโคนต้น และให้อีกครั้ง 5-6 เดือน หลังปลูก โดยใช้การหว่านทั่วทั้งแปลงหรือหยอดรอบโคนต้นหากไม่แตกกอมาก
การเก็บใบเตย
หลังจากการปลูกแล้วประมาณ เดือน ก็สามารถเริ่มเก็บใบเตยได้ โดยมีวิธีเก็บใบเตย แบบ คือ
– แบบไว้หน่อ คือ ให้เก็บใบเตยด้วยการใช้มีดตัดยอด โดยเลือกตัดเฉพาะต้นที่ใหญ่มากหรือต้นที่แก่สุด และให้เหลือกอหรือยอดที่เล็กไว้ ซึ่งเพียง 4-5 เดือน ก็สามารถเก็บใบหรือยอดเตยได้อีกครั้ง วิธีนี้ เกษตรกรนิยมทำมากที่สุด
– แบบไม่ไว้หน่อ คือ การใช้มัดตัดต้นเตยทั้งหมดออก เหลือเพียงเหง้าหรือโคนต้นตอไว้ เพื่อให้แตกหน่อใหม่ วิธีนี้ ไม่ค่อยนิยมนัก เพราะต้องรอให้เตยแตกหน่อ และดูแลให้เติบโต ซึ่งกว่าจะเก็บใบได้ก็ต้องใช้เวลานานขึ้น

                                 ดอกไม่สมบูรณ์เพศ




มะยม 
ภาคอีสานเรียกว่า หมากยม ภาคใต้เรียกว่า ยม เป็นไม้ยืนต้น ขนาดเล็กถึงขนาดกลาง สูงประมาณ 3 – 10 เมตร ลำต้นตั้งตรง เปลือกต้นขรุขระสีเทาปนน้ำตาล แตกกิ่งที่ปลายยอด กิ่งก้านจะเปราะและแตกง่าย ใบประกอบ มีใบย่อยออกเรียงแบบสลับกันเป็น แถว
ชื่อวิทยาศาสตร์: Phyllanthus acidus
สายพันธุ์ที่เหนือกว่าสกุลมะขามป้อม
ชั้นสปีชีส์

สรรพคุณมะยม
ผล
– แก้ไอ ขับเสมหะ และทำให้ชุ่มคอ
– ป้องกันเลือดออกตามไรฟัน
– ใช้เป็นยาระบาย ช่วยในการขับถ่าย
– ใช้ทารักษาโรคผิวหนังที่เกิดจากเชื้อรา
– ใช้ทาแก้อาการผื่นคันตามผิวหนัง
– น้ำสกัดจากผลมะยมประกอบด้วยกรดหลายชนิด ใช้ทาผิว ทาหน้า ช่วยพลัดเซลล์ผิว ทำให้ผิวแลดูขาวขึ้น
– ผลมีสารต้านอนุมูลอิสระหลายชนิด ช่วยป้องกันการเสื่อมสภาพของเซลล์ทำให้ผิวไม่แลดูแก่เกินวัย
– เสริมสร้างภูมิต้านทาน บรรเทาอาการภูมิแพ้ และป้องกันโรคจากสาเหตุภูมิแพ้
– เพิ่มความเป็นกรดในกระเพาะอาหาร กระตุ้นการยากอาหาร
ใบ (สารคลอโรฟิลล์แคโรทีนอยด์)
– ใช้รับประทาน ช่วยบำรุงประสาท
– ใช้ทาแก้ผื่นคันตามผิวหนัง
– ช่วยเสริมสร้างการทำงานของตับ ป้องกันพิษจากสารเคมีที่มีต่อตับ
– ป้องกันโรคมะเร้งในลำไส้ และมะเร็งต่างๆ
– กระตุ้นระบบภูมิต้านทานในร่างกาย
– ช่วยบำรุงผิวพรรณ ช่วยให้ผิวแลดูสดใส
– แมกนีเซียมที่เป็นองค์ประกอบของคลอโรฟิลล์ช่วยให้การนอนหลับง่ายขึ้น
– ช่วยป้องกันโรคโลหิตจาง เสริมสร้างความแข็งแรงของเม็ดเลือด
ราก
– ใช้ต้มน้ำดื่มเป็นยาระบาย
– ใช้ต้มน้ำดื่มช่วยขับปัสสาวะ ช่วยขับเหงื่อ
– ใช้ต้มดื่มช่วยทำให้อาเจียน ซึ่งการออกฤทธิ์ทางยาที่ช่วยให้อาเจียนนี้ จึงนิยมใช้รากมะยมเป็นยาช่วยการออกเหล้า เพราะหลังจากดื่มน้ำที่ฝนจากรากมะยมแล้ว ผู้ดื่มจะเกิดอาการอาเจียนอย่างรุนแรง ทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำมาก จนเกิดความรู้สึกกระหายน้ำ ลดอาการกระหายสุราตามมา
การปลูกมะยม
การปลูกมะยมนิยมใช้วิธีการเพาะเมล็ด โดยการนำผลมะยมที่แก่จัด และหล่นจากต้น ทั้งนี้ ควรเลือกต้นแม่ที่มีกิ่งมาก ให้ผลดก ผลมีขนาดใหญ่สม่ำเสมอ ส่วนผลที่นำมาเพาะ ควรเป็นผลมีลักษณะอวบใหญ่
หลังจากที่ได้ผลมะยมมาแล้ว หากไม่รีบ ให้ปล่อยผลมะยมเน่าเปื่อยจนเหลือแต่เมล็ด หรือ ให้ปอกเนื้อมะยมออกให้หมดจนเหลือแต่เมล็ด แล้วนำเมล็ดมาตากแดดจนแห้ง
หลังจากได้เมล็ดมะยมแห้งแล้ว ให้นำมาแช่ในน้ำร้อนประมาณ นาที ก่อนลงเพาะในถุงเพาะชำ หรือ นำเมล็ดฝังดินบริเวณที่ต้องการให้เกิด ซึ่งให้ใส่เมล็ดประมาณ 2-3 เมล็ด/หลุม เมื่อกล้ามะยมเกิดแล้วค่อยถอนต้นออกให้เหลือต้นที่สมบูรณ์ที่สุดเพียงต้นเดียว
นอกจาก การเพาะด้วยเมล็ดเองแล้ว เราสามารถหาต้นกล้ามะยมที่เกิดใต้ต้นมะยมที่มีลำต้นสูง 10-20 ซม. ย้ายออกปลูกตามจุดที่ต้องการได้ ซึ่งวิธีนี้จะง่าย และสะดวกที่สุด


                                ดอกไม่สมบูรณ์เพศ




ฟักทอง 
เป็นพืชชนิดหนึ่ง ใช้ทำได้ทั้งอาหารคาว ของหวาน และเป็นอาหารว่างได้ด้วย ปกติฟักทองเมื่อแก่จัดจะมีสีเหลืองอมส้ม เป็นพืชมีเถา ปลูกได้ทั่วไปทั้งในเขตร้อนและเขตหนาว ในทางพฤกษศาสตร์ จัดอยู่ในสกุล Cucurbita วงศ์ Cucurbitaceae 

ชื่อวิทยาศาสตร์: Cucurbita maxima 'Kabocha Group'
สายพันธุ์ที่เหนือกว่าCucurbita maxima

สรรพคุณของฟักทอง
– ช่วยในเรื่องรักษาและบำรุงสุขภาพหัวใจ  เนื่องจากในฟักทองประกอบด้วยแคโรทีนชนิดต่างๆเช่น เบต้าแคโรทีนอัฟฟาแคโรทีน ซึ่งช่วยให้บำรุงสุขภาพของหัวใจให้แข็งแรงนอกจากนี้ในฟักทองยังมีไฟเบอร์และโพแทสเซียมซึ่งมีประโยชน์ต่อระบบหัวใจด้วยเช่นกันโดยการทานฟักทองแค่เพียง ถ้วยเล็กสามารถเพิ่มแคโรทีนต่างๆให้กับร่างกายได้มากถึง 1,000 มิลลิกรัมเลยทีเดียว
– ฟักทองช่วยลดความดันโลหิต เนื่องจาก ในฟักทองนั้นมากไปด้วย โพแทสเซียมและไฟเบอร์ต่างๆซึ่งสองสิ่งนี้เป็นตัวช่วยอย่างดีในการไปลดและควบคุมระดับความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ที่ดีโดยฟักทองปริมาณหนึ่งเสิร์ฟมีโพแทสเซียมเกือบ 300 มิลลิกรัม หรือ 10% ของความต้องการ พร้อมด้วยใยอาหาร กรัม หรือ 20% ของความต้องการต่อวัน  นอกจากนี้สารแคโรทีนในฟักทองอย่างเบต้าและอัลฟ่า ยังช่วยไปต่อต้านอนุมูลอิสละช่วยคุ้มครองมิให้ LDL ซึ่งเป็นพาหะนำคอเลสเตอรอลไหลเวียนไปทั่วร่างกายถูกทำลายด้วยอนุมูลอิสระ
– ฟักทองช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล เนื่องจาก มีผลการทดลองกับสัตว์โดยเพิ่มเมนูฟักทองลงมื้ออาหารประจำวันสามารช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในสัตว์ตัวนั้นๆได้ซึ่งก็น่าจะมีผลที่ดีเหมือนกันในร่างกายของมนุษย์เราได้เช่นกันด้วยคุณประโยชน์ที่มากมายของฟักทองทุกบ้านควรนำฟักทองมาประกอบเป็นอาหารมื้อหลักให้บ่อยๆ
วิธีปลูกฟักทอง
ฟักทองเป็นพืชตระกูลเดียวกับแตง เป็นผักที่ปลูกได้ง่าย ขึ้นได้ในดินทุกชนิด แทบทุกส่วนของฟักทองสามารถนำมาใช้บริโภคเป็นอาหารได้ นอกจากนั้นยังนำมาทำของหวานได้ด้วย ฟักทองมีลำต้นเลื้อย จึงต้องการพื้นที่ในการเพาะปลูกมาก มีดอกตัวผู้และดอกตัวเมียอยู่ในต้นเดียวกัน ใช้แมลงเป็นตัวช่วยผสมละอองเกสร และสามารถช่วยการผสมให้ติดผลได้มากขึ้น ฟักทองเป็นพืชที่รู้กันในหมู่คนที่อพยพเข้าไปอยู่ในอเมริกาสมัยแรกๆ คนเหล่านั้นใช้ฟักทองเป็นอาหาร ชาวอินเดียแดงบางเผ่าใช้เปลือกฟักทองมาตากแห้ง แล้วนำมาทำเป็นเครื่องประดับ ส่วนชาวจีนนับถือว่าฟักทองเป็นพืชที่บ่งบอกถึงความสมบูรณ์มั่งคั่ง ซึ่งฟักทองนั้นแบ่งออกเป็น ชนิด (ตามลักษณะลำต้น) ดังนี้
พวกที่ลำต้นเป็นเถาเลื้อย (Vine type) ลำต้นเมื่อโตแล้วจะเลื้อยและแตกแขนงมาก เป็นฟักทองพันธุ์พื้นเมืองทั่วๆ ไป และมีพันธุ์ลูกผสมต่างๆ พวกนี้จะออกดอกตามข้อ มีแขนงมากให้ผลแขนงละ 1-2 ผล
พวกที่ลำต้นเตี้ย (Bush type) พุ่มใหญ่ ใบมีขนาดใหญ่มาก และบางชนิดอาจมีหนาม ก้านใบกลมกลวง หักง่าย ออกดอกตามมุมก้านใบ ออกดอกเมื่อฟักทองอายุได้ 35 วัน มีผลมาก เพราะมีดอกตัวเมียมาก ขนาดของผลแต่ละผลมีขนาดที่แตกต่างกันไปแล้วแต่ชนิด
การเตรียมปลูกและการปลูกฟักทอง
ฟักทองเป็นผักที่ชอบอากาศร้อน ถ้าอากาศเย็นอัตราการเจริญเติบโตจะลดลงหรืออาจไม่ได้ผลผลิต อุณหภูมิที่เหมาะสมกับการเจริญเติบโตจะอยู่ที่ประมาณ 30 องศาเซลเซียส ในบ้านเราปลูกได้ดีที่สุดในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงกุมภาพันธ์ และสามารถปลูกได้ตั้งแต่เดือนสิงหาคมถึงพฤษภาคม ฟักทองชอบดินร่วนทราย ชอบอากาศแห้ง แต่ต้องมีความชื้นในดินพอเพียง และต้องการแสงแดดเต็มที่ตลอดทั้งวัน
การเตรียมดินในการปลูกนั้นควรเตรียมดินโดยการขุดไถให้ลึกประมาณ 25-30 เซนติเมตร และในการย่อยดินควรใส่ปุ๋ยคอกและปุ๋ยหมักที่สลายตัวดีแล้วลงไปด้วยโดยใช้อัตรา 2-4 ตัน / ไร่ ทั้งนี้ก็เพื่อให้ดินนั้นร่วนซุยและทำให้ดินสามารถระบายน้ำได้ดี อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้กับดิน ปุ๋ยคอกและปุ๋ยหมักบางส่วนควรนำมาใส่รองก้นหลุมตอนปลูก และถ้าหากดินนั้นเคยใช้เพาะปลูกมานานควรใส่ปูนขาวเพื่อปรับสภาพความเป็นกรดด้วย
การปลูกนั้นนิยมปลูกแบบหยอดเมล็ดเป็นหลุมลงในแปลงปลูกเลย โดยหยอดหลุมละ 3-5 เมล็ด ลึงลงในดินประมาณ 2.5-5 เซนติเมตร แล้วกลบด้วยปุ๋ยคอก รดน้ำให้ชุ่ม คลุมด้วยฟาง เพื่อรักษาความชื้นของผิวหน้าดิน เมื่อต้นฟังทองงอกมีใบจริงแล้ว 2-3 ใบ ให้ทำการถอนต้นที่อ่อนแอทั้งไปให้เหลือหลุมละ ต้นเท่านั้น
ส่วนระยะห่างระหว่างต้นในการปลูกนั้น ควรพิจารณาว่าเป็นฟักทองประเภทใด หากเป็นพวกเถาเลื้อยจะใช้ระยะห่างประมาณ 1.5 เมตร โดยอาจปลูกบนร่องเป็นร่องละแถว หรือร่องละ แถวก็ได้ ในพวกลำต้นเป็นพุ่ม ใช้ระยะห่างประมาณ 0.75-1.5 เมตร ปลูกร่องละ แถว หรือแถวเดียวก็ได้เช่นกัน
การดูแลรักษาฟักทอง
การให้ปุ๋ย ควรให้ปุ๋ยคอกและปุ๋ยหมักในการเตรียมดินในอัตราที่สูง ในระยะแรกงของการเจริญเติบโตควรให้ปุ๋ยไนโตรเจน เช่น ปุ๋ยยูเรีย หรือแอมโมเนียมไนเตรด ในอัตราประมาณ 10-15 กิโลกรัม / ไร่ โดยจะใส่เมื่อต้นฟักทองอายุ 10-14 วันหลังจากงอก ปุ๋ยผสมสูตร 14-14-21 ใส่ในแปลงปลูกในอัตรา 100-150 กิโลกรัม / ไร่ ควรแบ่งปุ๋ยผสมนี้ใส่ ครั้ง โดยครั้งแรกใส่เป็นปุ๋ยรองพื้นครึ่งหนึ่ง และอีกครึ่งหนึ่งที่เหลือให้ใส่ตอนที่ฟังทองมีอายุได้ 21-25 วัน โดยใส่ด้วยการโรยข้างแถวแล้วพรวนดินกลบ รดน้ำให้ชุ่ม
การให้น้ำ ฟักทองเป็นผักที่ไม่ชอบดินที่ขังน้ำแฉะ ดังนั้นควรให้น้ำแต่พอสมควร ในระยะออกดอกและติดผลต้องระวังมิให้ขาดน้ำได้ ระบบการให้น้ำที่ดีคือ ให้น้ำเข้าร่อง (Furrow system) เพราะใบฟักทองจะไม่เปียกน้ำ และไม่ควรใช้ระบบพ่นน้ำฝอย เพราะจะทำให้ใบเป็นโรคเน่าได้ง่าย
การพรวนดินและการจำกัดวัชพืชนั้น ให้ทำในตอนที่ยังต้นเล็กอยู่และควรทำอย่างสม่ำเสมอ และเมื่อฟังทองเริ่มเลื้อยคลุมดินแล้วจะไม่มีวัชพืชขึ้น ซึ่งก็ไม่จำเป็นต้องพรวนดินอีกต่อไป
การเก็บเกี่ยวฟักทอง
การเก็บเกี่ยวนั้นสามารถเริ่มเก็บเกี่ยวได้เมื่อมีอายุได้ 45-60 วัน ซึ่งมักจะเป็นพวกพันธุ์พุ่ม สำหรับพวกพันธุ์เลื้อยมักจะเก็บเกี่ยวเมื่ออายุได้ 120-180 วัน ในการเก็บนั้นถ้าต้องการเก็บแบบเป็นผลอ่อน สามารถทำการเก็บได้โดยการสังเกตว่าผลมีเปลือกนิ่มหรือแข็ง ถ้าอ่อนผิวจะนิ่ม เนื้อภายในจะนุ่มๆ ผิวของผลจะเป็นสีเขียว ส่วนถ้าเก็บแบบผลแก่ ต้องเก็บในตอนที่ผลแก่จัดเต็มที่ ซึ่งผลที่แก่จัดจะมีเปลือกที่แข็ง การเก็บผลแก่นั้นจะเก็บแบบให้เหลือเถาของผลติดมาด้วย โดยเหลือเถาให้ยาว 7-10 เซนติเมตร ทั้งนี้ก็เพื่อให้ผลที่แก่อยู่ได้นานนั้นเอง


                                ดอกไม่สมบูรณ์เพศ


ตาล 
หรือ ตาลโตนด หรือ โหนด ในภาษาใต้ เป็นพันธุ์ไม้พวกปาล์มขนาดใหญ่ สกุล Borassus ในวงศ์ปาล์ม เป็นปาล์มที่แข็งแรงมากชนิดหนึ่ง และเป็นปาล์มที่แยกเพศกันอยู่คนละต้น ต้นสูงถึง 40 เมตร และโตวัดผ่ากลางประมาณ 60 เซนติเมตร ลำต้นเป็นเสี้ยนสีดำแข็งมาก
ชื่อวิทยาศาสตร์: Borassus flabellifer
สายพันธุ์ที่เหนือกว่าBorassus
ชั้นสปีชีส์

สรรพคุณตาลโตนด
1. ช่อดอก และน้ำตาล
– น้ำตาลสดใช้เป็นยาระบาย เป็นกระสายยาบำรุง
– ช่อดอกหรืองวงตาลที่ยังอ่อนนำมาฝานต้ม เป็นยาบำรุงหัวใจ ยาเจริญอาหาร รักษาตาลโขมยในเด็ก ฝนทำยารักษาแผล แก้ร้อนใน ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ ขับพยาธิ
2. ผลตาล
ผลตาลแก่ คั้นเอาน้ำจากเปลือกผล ใช้ต้มดื่ม กินแก้โรคตานขโมย ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ แก้ไข ร้อนในกระหายน้ำ หรือใช้แช่น้ำอาบ แก้ผดผื่นคัน
3. ก้านตาล และใบตาล
– ก้านตาลหรือทางตาลสดนำมาเผาไฟแล้วคั้นเอาน้ำดื่มสำหรับเป็นยาแก้ท้องร่วง ขับปัสสาวะ แก้ปวดเมื่อย
-นำใบมาต้มน้ำดื่ม แก้อาการกระสับกระส่ายหลังคลอด แก้อาการท้องร่วง ท้องเสีย และช่วยลดความดันโลหิต
4. รากตาลโตนด
รากนำมาต้มดื่ม แก้ไข้ แก้ร้อนใน กระหายน้ำ แก้ซางเด็ก บำรุงร่างกาย ขับปัสาสาวะ และใช้ขับพยาธิ
การปลูกตาลโตนด

          ตาลโตนดเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด เกษตรกรในจังหวัดเพชรบุรี มีวิธีเพาะเมล็ดตาล วิธีด้วยกัน
          1. นำผลตาลโตนดสุกมาปอกเปลือกนอกออก ขยำเอาเนื้อตาลโตนออกนำไปจำหน่ายกิโลกรัมละ 10 บาท ถ้ามีปริมาณมากก็จะใส่โอ่งหมัก โดยใส่สารกันบูดตามอัตราส่วนเพื่อชะลอการขายต่อไป หลังจากขยำเอาเนื้อออกหมดแล้วก็นำเมล็ดที่ได้ใส่ในถุงปุ๋ยนำไปแช่น้ำทั้งถุงประมาณ วัน นำขึ้นจากน้ำกองบนพื้นดินหาฟางข้าวคลุมทับประมาณ 15 วัน ตาลจะเริ่มงอก
          ช่วงนี้ถ้าต้องการนำเมล็ดตาลไปปลูกก็นำไปปลูกได้เลย โดยขุดหลุมลึกประมาณ 25x25 เซนติเมตร ใช้ปุ๋ยคอกรองก้นหลุมเล็กน้อย วางเมล็ดที่เริ่มงอกลงไประวังอย่าให้ปลายรากหัก เพราะถ้าปลายรากหักจะไม่สามารถพัฒนาเป็นต้นอ่อนได้ โดยวางทำมุมเฉียงลง 45 องศากับพื้นดิน กันต้นที่งอกขึ้นมาชนกับเปลือกหุ้มเมล็ดหรือแทงเข้าไปในเมล็ดได้ จะทำให้ต้นอ่อนตายได้กลบดิน รดน้ำบ้างถ้าฝนไม่ตก ประมาณ 30 วัน ต้นอ่อนจะงอกพ้นดิน ระยะปลูกที่เหมาะสมอยู่ระหว่าง 6x6 เมตร ถึง 8x8 เมตร แล้วแต่ความอุดมสมบูรณ์ของดิน จากการสังเกตพบว่าต้นอ่อนจะค่อย ๆ พัฒนาภายในรากของเมล็ดตาลซึ่งจะงอกรากยาวประมาณ 30-60 เซนติเมตรและจะหยุดการเจริญเติบโตพร้อมกับการพัฒนาต้นอ่อนในรากซึ่งผิดกับปาล์มชนิดอื่นๆ หลังจากพัฒนาเป็นต้นอ่อนสมบูรณ์แล้ว ก็จะแทงต้นอ่อนสวนขึ้นมาโผล่พ้นดิน ซึ่งจะเป็นเวลาประมาณ 30 วัน ตามที่กล่าวแล้ว
          2. นำผลตาลสุกมาขยำเปลือกและเนื้อออก นำเมล็ดที่ได้ไปแช่น้ำ 3-5 วัน นำขึ้นกองบนแคร่ไม้ไผ่ สูงจากพื้นประมาณ 70-80 เซนติเมตร หาฟางข้าวคลุมทับประมาณ 15 วัน ตาลจะเริ่มงอกนำไปปลูกได้
          3. นำเมล็ดตาลแช่น้ำประมาณ 3-5 วัน นำมาปลูก ลงกระบอกไม้ไผ่ โดยใส่ดินผสมลงไปจนเต็มกระบอก โดยวางเมล็ดเฉียงประมาณ 45 องศา เพื่อไม่ให้ต้นที่งอกใหม่ชนกับเปลือกหุ้มเมล็ดหรือแทงเข้าไปในเมล็ด ทำให้ต้นอ่อนเสริมรายได้ หลังจากได้ต้นอ่อนในกระบอกแล้วนำไปปลูกในแปลงทั้งกระบอก
          4. นำผลตาลทั้งผลไปแช่น้ำ (หมัก) ประมาณ 30 วัน และไม่ควรแช่นานเกิน 60 วัน จะทำให้เมล็ดภายในเน่าได้ นำขึ้นมากองบนพื้นใช้ฟางคลุมประมาณ 15 วัน เมล็ดจะเริ่มงอก นำเมล็ดที่เริ่มงอกไปปลูกในที่ๆ เตรียมไว้ต่อไป ระยะปลูก 6x6   เมตร ถึง 8x8 เมตร
          5. นำผลตาลโตนดสุกทั้งผลไปวางในตำแหน่งที่เราต้องการปลูกขุดหลุมฝังกันสัตว์กัดแทะ วิธีนี้ต้องใช้เวลามากกว่า วิธีแรก ถึงจะได้ตาลต้นใหม่ หลังจากตาลงอกแล้ว ซึ่งอาจงอกหลายต้น ถอนต้นที่ไม่ต้องการทิ้ง ทำรั้วกันวัวควายเหยียบย่ำ ระยะปลูก 6x6 เมตร ถึง 8x8 เมตร