ดอกเดี่ยว
มะเขือ
ประกอบด้วยพืชปีเดียวและพืชสองปีมากมายหลายชนิด ปัจจุบัน มีอยู่ประมาณ 1,500-2,000 สปีชีส์ กลุ่มใบและผลมีเนื้อหลายเมล็ดของมันมีพิษ โดยสารหลักที่ออกฤทธิ์ คือ โซลานิน ซึ่งอาจทำให้ชักและเสียชีวิตได้หากรับประทานในปริมาณมาก
ชื่อวิทยาศาสตร์: Solanum
สายพันธุ์ที่เหนือกว่า: Solaneae
ชั้น: สกุล
สรรพคุณ
ประโยชน์ของมะเขือเปราะโดยละเอียดดังนี้
คุณค่าทางอาหารของมะเขือเปราะ
คุณค่าทางอาหารของมะเขือเปราะ
มะเขือเปราะ 100 กรัม ให้พลังงาน 39 กิโลแคลอรี ประกอบด้วย โปรตีน 1.6 กรัม ไขมัน 0.5 กรัม คาร์โบไฮเดรต 7.1 กรัม แคลเซียม 7 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 10 มิลลิกรัม เหล็ก 0.8 มิลลิกรัม ไทอะมิน 0.11 มิลลิกรัม ไนอะซิน 0.6 มิลลิกรัม ไรโบฟลาวิน 0.06 มิลลิกรัม น้ำ 90.2 กรัม วิตามินเอรวม 143 RE. วิตามินซี 24 มิลลิกรัม
ประโยชน์ของมะเขือเปราะ
- ลดการบีบตัวของกล้ามเนื้อเรียบ ต้านมะเร็ง บำรุงหัวใจ ลดความดันเลือด
- บรรเทาอาการของโรคเบาหวาน เนื่องจากมะเขือเปราะมีสรรพคุณคล้ายกับอินซูลินลดปริมาณน้ำตาลในเลือด คนเป็นเบาหวานที่มีมะเขือเปราะเป็นผักคู่ใจเลยอาการดีวันดีคืน
- ช่วยขับพยาธิ ลดการอักเสบ
- ช่วยให้ระบบย่อยและระบบขับถ่ายทำงานดี
- มีประโยชน์ต่อตับอ่อน ทำให้ตับแข็งแรงทำงานได้มีประสิทธิภาพ
ประโยชน์ของมะเขือเปราะ
- ลดการบีบตัวของกล้ามเนื้อเรียบ ต้านมะเร็ง บำรุงหัวใจ ลดความดันเลือด
- บรรเทาอาการของโรคเบาหวาน เนื่องจากมะเขือเปราะมีสรรพคุณคล้ายกับอินซูลินลดปริมาณน้ำตาลในเลือด คนเป็นเบาหวานที่มีมะเขือเปราะเป็นผักคู่ใจเลยอาการดีวันดีคืน
- ช่วยขับพยาธิ ลดการอักเสบ
- ช่วยให้ระบบย่อยและระบบขับถ่ายทำงานดี
- มีประโยชน์ต่อตับอ่อน ทำให้ตับแข็งแรงทำงานได้มีประสิทธิภาพ
สรรพคุณของมะเขือเปราะ
- มะเขือเปราะช่วยลดระดับโคเลสเตอรอลในเลือดฆ่าเชื้อแบคทีเรียและขับปัสสาวะ
- การแพทย์อายุรเวทของอินเดียใช้รากมะเขือเปราะ รักษาอาการไอ หอบหืด อาการหลอดลมอักเสบ ขับปัสสาวะ และขับลม
- ผลใช้ขับพยาธิ ลดไข้ ลดอักเสบ ช่วยการขับถ่าย ช่วยย่อยอาหาร และกระตุ้นทางเพศ ประชากรในแคว้นโอริสสาของประเทศอินเดียใช้น้ำต้มผลมะเขือเปราะรักษาโรคเบาหวาน งานวิจัยนานาชาติระหว่างปี พ.ศ.2510-2538 พบว่า ผลมะเขือเปราะมีฤทธิ์ลดการบีบตัวกล้ามเนื้อเรียบ ต้านมะเร็ง บำรุงหัวใจ และลดความดันเลือด
- ผลมะเขือเปราะมีไกลโคอัลคาลอยด์โซลามาร์จีน โซลาโซนีน และอัลคาลอยด์โซลาโซดีนที่ปราศจากโมเลกุลน้ำตาล การทดสอบฤทธิ์ต้านเซลล์มะเร็งของสารเหล่านี้พบว่า ทุกตัวมีฤทธิ์ต้านการเจริญของเซลล์มะเร็งตับและลำไส้ใหญ่
- พบว่าฤทธิ์ของไกลโคอัลคาลอยด์สูงกว่าโมเลกุลไร้น้ำตาล ราก ต้นและผลแก่มีสารอัลคาลอยด์เหล่านี้ต่ำ แต่ผลเขียว (เหมือนที่คนไทยกิน) มีสารที่มีประโยชน์เหล่านี้ในปริมาณสูงกว่าส่วนอื่นของพืชดังกล่าว
- สารโซลาโซดีนใช้เป็นสารตั้งต้นในการสังเคราะห์สเตียรอยด์คอร์ติโซนและฮอร์โมนเพศได้ ผลตากแห้งบดเป็นผงผสมน้ำผึ้งใช้ปรุงยาแก้ไอ
- มะเขือเปราะช่วยลดระดับโคเลสเตอรอลในเลือดฆ่าเชื้อแบคทีเรียและขับปัสสาวะ
- การแพทย์อายุรเวทของอินเดียใช้รากมะเขือเปราะ รักษาอาการไอ หอบหืด อาการหลอดลมอักเสบ ขับปัสสาวะ และขับลม
- ผลใช้ขับพยาธิ ลดไข้ ลดอักเสบ ช่วยการขับถ่าย ช่วยย่อยอาหาร และกระตุ้นทางเพศ ประชากรในแคว้นโอริสสาของประเทศอินเดียใช้น้ำต้มผลมะเขือเปราะรักษาโรคเบาหวาน งานวิจัยนานาชาติระหว่างปี พ.ศ.2510-2538 พบว่า ผลมะเขือเปราะมีฤทธิ์ลดการบีบตัวกล้ามเนื้อเรียบ ต้านมะเร็ง บำรุงหัวใจ และลดความดันเลือด
- ผลมะเขือเปราะมีไกลโคอัลคาลอยด์โซลามาร์จีน โซลาโซนีน และอัลคาลอยด์โซลาโซดีนที่ปราศจากโมเลกุลน้ำตาล การทดสอบฤทธิ์ต้านเซลล์มะเร็งของสารเหล่านี้พบว่า ทุกตัวมีฤทธิ์ต้านการเจริญของเซลล์มะเร็งตับและลำไส้ใหญ่
- พบว่าฤทธิ์ของไกลโคอัลคาลอยด์สูงกว่าโมเลกุลไร้น้ำตาล ราก ต้นและผลแก่มีสารอัลคาลอยด์เหล่านี้ต่ำ แต่ผลเขียว (เหมือนที่คนไทยกิน) มีสารที่มีประโยชน์เหล่านี้ในปริมาณสูงกว่าส่วนอื่นของพืชดังกล่าว
- สารโซลาโซดีนใช้เป็นสารตั้งต้นในการสังเคราะห์สเตียรอยด์คอร์ติโซนและฮอร์โมนเพศได้ ผลตากแห้งบดเป็นผงผสมน้ำผึ้งใช้ปรุงยาแก้ไอ
- งานวิจัยที่แคว้นโอริสสา ประเทศอินเดีย ใช้สารสกัดน้ำของผลมะเขือเปราะลดปริมาณน้ำตาลในเลือดของหนูเบาหวานอะล็อกซาน พบว่าได้ผลลดน้ำตาลในเลือดดีเท่ากับการใช้ยากลิเบนคลาไมด์ (glibenclamide)
การปลูก
การเตรียมการปลูกควรขุดไถดินให้ลึกประมาณ 20-25 เซนติเมตร ตากดินทิ้งไว้ 7-10 วัน แล้วใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักที่สลายตัวดีแล้วคลุกเคล้าลงในดิน พรวนย่อยดินให้ละเอียด
เมื่อต้นกล้ามีอายุประมาณ 30 วัน ก็ทำการย้ายกล้าโดยพยายามให้มีดินติดรากมากที่สุดและควรทำการย้ายในเวลาบ่ายถึงเย็น หลังจากย้ายกล้าแล้ว ควรรดน้ำให้ชุ่มทันที และถ้าจะให้ดีควรทำที่พรางแสงให้ต้นกล้า ช่วง 2-3 วันแรก หลังย้ายกล้า เพื่อช่วยให้กล้าตั้งตัวได้เร็วขึ้น
ระยะปลูกที่เหมาะสมสำหรับมะเขือพันธุ์พุ่มเตี้ยคือ ระยะห่างระหว่างต้น 50 เซนติเมตร และระยะห่างระหว่างแถว 80-100 เซนติเมตร
การให้น้ำ
ในช่วงแรกของการเจริญเติบโตควรให้น้ำอย่างสม่ำเสมอและเพียงพอ แต่ไม่ควรให้มากเกินไปจนเปียกแฉะ
การใส่ปุ๋ย
ปุ๋ยที่ควรใส่ให้มะเขือควรจะเป็นปุ๋ยที่มีสัดส่วนของไนโตรเจน:ฟอสฟอรัส: โปตัสเซียม เป็น 1:1..5-2 เช่น ปุ๋ยสูตร 13-13-21 โดยใส่ในอัตรา 50-100 กก./ไร่ แบ่งใส่ 2 ครั้ง ครั้งแรกใส่เป็นปุ๋ยรองพื้นพรวนกลบลงในดินตอนปลูกและอีกครั้งหนึ่ง ใส่เมื่อต้นมีอายุ 25-30 วันหลังย้ายกล้า ใส่แบบโรยข้างแล้วพรวนกลบลงในดิน นอกจากนั้นควรใส่ปุ๋ยไนโตรเจน เช่นปุ๋ยยูเรีย 15-20 กก./ไร่ โดยแบ่ง ใส่ 2 ครั้ง เมื่อต้นอายุประมาณ 7 วันและ 15 วันหลังย้ายกล้า การใส่ควรใส่แบบโรยข้างปุ๋ยไนโตรเจนนี้ใส่เพื่อช่วยเร่งการเจริญเติบโตของต้นกล้า ในระยะแรก
การปลูกมะเขือโดยทั่ว ๆ ไป ควรพรวนดินและกำจัดวัชพืชบ่อย ๆ ในระยะที่ต้นมะเขือยังเล็กอยู่เพื่อช่วยให้ดินถ่ายเทอากาศและน้ำได้ดี และต้นแข็งแรง
การเก็บเกี่ยว
มะเขือทั่วไปจะสามารถเก็บเกี่ยวได้เมื่อมีอายุประมาณ 60-85 วัน ควร เลือกเก็บในขณะที่ผลยังไม่แก่เพราะเมื่อผลเริ่มแก่คุณภาพจะลดลงเนื้อไม่อร่อย และไม่ควรปล่อยให้ผลแก่คาต้นเพราะจะทำให้ผลผลิตลดลง
ดอกเดี่ยว
ฝรั่ง
เป็นไม้ต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ในวงศ์ Myrtaceae ฝรั่งเป็นพืชที่มีจุดกำเนิดอยู่ในอเมริกากลางและหมู่เกาะอินดีสต์ตะวันตก หลักฐานทางโบราณคดีในเปรูชี้ให้เห็นว่า มีฝรั่งมาตั้งแต่ 800 ปีก่อนครืสตกาล
ชื่อวิทยาศาสตร์: Psidium guajava
ชั้น: สปีชีส์
สายพันธุ์ที่เหนือกว่า: Psidium
สรรพคุณ
ฝรั่งมีสารแทนนินอยู่มาก สารนี้มีฤทธิ์ฝาดสมานน้ำมันหอมระเหยในใบฝรั่ง สารแทนนินในฝรั่งยังยับยั้งการลุกลามของเชื้อโรค ช่วยสมานท้องและลำไส้ โดยช่วยลดอาการอักเสบของกระเพาะลำไส้ และช่วยลดอาการคลื่นไส้อาเจียน และยังช่วยอาการเกร็งตัวของลำไส้ ทำให้อาการปวดท้องบรรเทาลงได้ แก้ปวดเบ่ง
ฝรั่งมีสารแทนนินอยู่มาก สารนี้มีฤทธิ์ฝาดสมานน้ำมันหอมระเหยในใบฝรั่ง สารแทนนินในฝรั่งยังยับยั้งการลุกลามของเชื้อโรค ช่วยสมานท้องและลำไส้ โดยช่วยลดอาการอักเสบของกระเพาะลำไส้ และช่วยลดอาการคลื่นไส้อาเจียน และยังช่วยอาการเกร็งตัวของลำไส้ ทำให้อาการปวดท้องบรรเทาลงได้ แก้ปวดเบ่ง
ใบ – แก้ท้องเสีย ท้องร่วง ท้องเดิน (ที่ไม่ใช่บิด หรืออหิวาตกโรค) เป็นยาห้ามเลือด ใส่แผลสด ใช้ใบ 2-3 ใบเคี้ยวๆ ระงับกลิ่นปาก แก้ฝี เป็นยาล้างแผล ดูดหนองและถอนพิษบาดแผล แก้เหงือกบวม แก้พิษเรื้อรัง แก้ปวดเนื่องจากเล็บขบ แก้แพ้ยุง
ผลอ่อน – แก้ท้องเสีย ท้องร่วง ท้องเดิน ระงับกลิ่นปาก แก้บิดมูกเลือด มีไวตามินซีมาก เป็นกันหรือแก้โรคเลือดออกตามไรฟัน (ลักปิดลักเปิด) บำรุงเหงือกและฟัน บำรุงผิวพรรณ
ผลสุก – มีสารเพ็กตินอยู่มาก ใช้รับประทานเป็นยาระบายได้
ราก – แก้น้ำเหลืองเสีย เป็นฝี แผลพุพอง แก้เลือดกำเดาไหล
การปลูก
การเตรียมดิน และการเตรียมแปลง สามารถทำได้ 2 รูปแบบตามสภาพพื้นที่ คือ
1. พื้นที่ดินเหนียว น้ำท่วมขังง่าย และมีระบบน้ำมากเกินพอ ให้ทำการขุดร่องลุกประมาณ 1 เมตร กว้าง 1-2 เมตร เพื่อเป็นแนวร่องสำหรับการให้น้ำ การเตรียมแปลง และการปลูกในลักษณะนี้มักพบในพื้นที่ลุ่มภาคกลางเป็นส่วนใหญ่
การเตรียมดิน และการเตรียมแปลง สามารถทำได้ 2 รูปแบบตามสภาพพื้นที่ คือ
1. พื้นที่ดินเหนียว น้ำท่วมขังง่าย และมีระบบน้ำมากเกินพอ ให้ทำการขุดร่องลุกประมาณ 1 เมตร กว้าง 1-2 เมตร เพื่อเป็นแนวร่องสำหรับการให้น้ำ การเตรียมแปลง และการปลูกในลักษณะนี้มักพบในพื้นที่ลุ่มภาคกลางเป็นส่วนใหญ่
2. พื้นที่ทั่วไปที่มีระบบน้ำไม่เพียงพอ สามารถปลูกในแปลงโดยไม่ยกร่องหรือการยกร่องสูงประมาณ 30 ซม. ระยะห่างระหว่างร่องประมาณ 3-4 เมตร ทั้งนี้ ให้ทำการไถดะ 1 ครั้ง เพื่อตากดิน และกำจัดวัชพืช และไถแปร 1 ครั้ง โดยเว้นช่วงห่างประมาณ 1-2 อาทิตย์ หลังจากนั้นทำการไถยกร่อง
วิธีปลูก
1. ใช้กิ่งพันธุ์จากการตอนหรือการปักชำ
2. ขุดหลุมปลูก กว้าง ลึก ขนาด 50×50 เซนติเมตร แต่ละหลุมห่างกันประมาณ 3 เมตร ระยะห่างระหว่างแถวประมาณ 3-4 เมตร หรือตามขนาดระยะห่่างของร่อง
3. รองพื้นด้วยปุ๋ยคอกหรือมูลสัตว์ประมาณ 0.5 กิโลกรัม/หลุม หรือขนาด 1 พลั่วตัก พร้อมคลุกดินผสมก้นหลุมให้สูงประมาณ 1 ฝ่ามือ ทั้งนี้อาจผสมปุ๋ยเคมีสูตร 16-16-8 ในอัตรา 1 กำมือ/หลุมก็ได้
4. นำกิ่งพันธุ์ลงหลุมปลูก โดยกลบดินสูงเหนือปากหลุมเล็กน้อย ทั้งนี้ควรให้ดินกลบเหนือเขตรากสูงประมาณ 10-15 เซนติเมตร
5. ใช้หลักไม้ปักหลุม และผูกเชือกยึดลำต้น
6. เมื่อปลูกเสร็จควรให้น้ำให้ชุ่มทันที
1. ใช้กิ่งพันธุ์จากการตอนหรือการปักชำ
2. ขุดหลุมปลูก กว้าง ลึก ขนาด 50×50 เซนติเมตร แต่ละหลุมห่างกันประมาณ 3 เมตร ระยะห่างระหว่างแถวประมาณ 3-4 เมตร หรือตามขนาดระยะห่่างของร่อง
3. รองพื้นด้วยปุ๋ยคอกหรือมูลสัตว์ประมาณ 0.5 กิโลกรัม/หลุม หรือขนาด 1 พลั่วตัก พร้อมคลุกดินผสมก้นหลุมให้สูงประมาณ 1 ฝ่ามือ ทั้งนี้อาจผสมปุ๋ยเคมีสูตร 16-16-8 ในอัตรา 1 กำมือ/หลุมก็ได้
4. นำกิ่งพันธุ์ลงหลุมปลูก โดยกลบดินสูงเหนือปากหลุมเล็กน้อย ทั้งนี้ควรให้ดินกลบเหนือเขตรากสูงประมาณ 10-15 เซนติเมตร
5. ใช้หลักไม้ปักหลุม และผูกเชือกยึดลำต้น
6. เมื่อปลูกเสร็จควรให้น้ำให้ชุ่มทันที
การดูแลรักษา
การให้น้ำ
เริ่มให้น้ำครั้งแรกหลังการปลูกเสร็จให้เปียกชุ่ม หลังจากนั้น ให้น้ำทุก 2 ครั้ง/วัน เช้า-เย็น จนต้นฝรั่งตั้งตัวได้ โดยอาจเลือกใช้ระบบการให้น้ำที่มีประสิทธิภาพ หลังจากนั้นอาจทำการให้น้ำน้อยลง ขึ้นอยู่กับสภาพดินฟ้าอากาศ และความชุ่มชื้นของดิน ซึ่งไม่ควรปล่อยให้ดินแห้ง ขาดน้ำ โดยเฉพาะในช่วงติดผล แต่ในช่วงติดดอกไม่ควรให้น้ำมากซึ่งในช่วงนี้เพียงแค่ระวังไม่หน้าดินแห้งก็ เพียงพอ
การให้น้ำ
เริ่มให้น้ำครั้งแรกหลังการปลูกเสร็จให้เปียกชุ่ม หลังจากนั้น ให้น้ำทุก 2 ครั้ง/วัน เช้า-เย็น จนต้นฝรั่งตั้งตัวได้ โดยอาจเลือกใช้ระบบการให้น้ำที่มีประสิทธิภาพ หลังจากนั้นอาจทำการให้น้ำน้อยลง ขึ้นอยู่กับสภาพดินฟ้าอากาศ และความชุ่มชื้นของดิน ซึ่งไม่ควรปล่อยให้ดินแห้ง ขาดน้ำ โดยเฉพาะในช่วงติดผล แต่ในช่วงติดดอกไม่ควรให้น้ำมากซึ่งในช่วงนี้เพียงแค่ระวังไม่หน้าดินแห้งก็ เพียงพอ
การใส่ปุ๋ย
การใส่ปุ๋ยแบ่งเป็น 2 ช่วง คือ
– ช่วงปลูกจนถึงออกผลรุ่นแรก ในช่วงนี้เป็นช่วงที่ต้องดูแลให้ฝรั่งเจริญเติบโตจนถึงให้ผลในรุ่นแรก ซึ่งการใส่ปุ๋ยจะใส่ปุ๋ยเป็นระยะเพื่อให้ต้นฝรั่งสามารถเจริญเติบโตได้ดี โดยอาจใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักผสมกับปุ๋ยเคมีในสูตร 12-12-0 ในอัตราส่วนปุ๋ยคอกต่อปุ๋ยเคมี 10:1 ในอัตรา 0.5 กิโลกรัม/ต้น ประมาณ 1-2 ครั้ง ก่อนการติดดอก
การใส่ปุ๋ยแบ่งเป็น 2 ช่วง คือ
– ช่วงปลูกจนถึงออกผลรุ่นแรก ในช่วงนี้เป็นช่วงที่ต้องดูแลให้ฝรั่งเจริญเติบโตจนถึงให้ผลในรุ่นแรก ซึ่งการใส่ปุ๋ยจะใส่ปุ๋ยเป็นระยะเพื่อให้ต้นฝรั่งสามารถเจริญเติบโตได้ดี โดยอาจใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักผสมกับปุ๋ยเคมีในสูตร 12-12-0 ในอัตราส่วนปุ๋ยคอกต่อปุ๋ยเคมี 10:1 ในอัตรา 0.5 กิโลกรัม/ต้น ประมาณ 1-2 ครั้ง ก่อนการติดดอก
– ช่วงให้ผลผลิต
ในช่วงที่ให้ผลิตในระยะออกดอกให้ใส่ปุ๋ยหมักร่วมกับปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 ในอัตราเดียวกัน และเมื่อก่อนที่ผลฝรั่งจะห่ามก่อนเก็บผลผลิตประมาณ 1 เดือน ให้ใส่ปุ๋ยสูตร 12-12-24 ในอัตราเดียวกัน
ในช่วงที่ให้ผลิตในระยะออกดอกให้ใส่ปุ๋ยหมักร่วมกับปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 ในอัตราเดียวกัน และเมื่อก่อนที่ผลฝรั่งจะห่ามก่อนเก็บผลผลิตประมาณ 1 เดือน ให้ใส่ปุ๋ยสูตร 12-12-24 ในอัตราเดียวกัน
การกำจัดวัชพืช
ในระยะเริ่มปลูกจนถึงต้นอายุ 6 เดือน หลังปลูก ให้กำจัดวัชพืชรอบโคนต้นทุกๆ 1 ครั้ง/เดือน ร่วมด้วยกับการไถกลบ หลังจากเมื่อต้นแตกกิ่งแล้วอาจทำการกำจัดวัชพืชน้อยลงก็ได้
ในระยะเริ่มปลูกจนถึงต้นอายุ 6 เดือน หลังปลูก ให้กำจัดวัชพืชรอบโคนต้นทุกๆ 1 ครั้ง/เดือน ร่วมด้วยกับการไถกลบ หลังจากเมื่อต้นแตกกิ่งแล้วอาจทำการกำจัดวัชพืชน้อยลงก็ได้
การตัดแต่งกิ่ง
การตัดแต่งกิ่งจะตัดกิ่งที่มีอายุมากแล้วออกเพื่อให้กิ่งใหม่ขึ้นแทน เพราะหากใช้กิ่งที่ให้ผลมาแล้วตั้งแต่ 3 ปี จะทำให้ผลที่ได้มีขนาดเล็กลง สำหรับกิ่งที่ยาวมากทั้งด้านข้างหรือในแนวสูงให้ตัดปลายกิ่งออก เพื่อให้มีลักษณะทรงพุ่มที่พอเหมาะสำหรับการเก็ฐผล ไม่กว้างหรือไม่สูงเกินไป นอกจากนั้น การตัดแต่งกิ่งยังช่วยในเรื่องการถ่ายเทของลมได้ดี แสงแดดสามารถส่องได้ทั่วถึงในทรงพุ่ม
การตัดแต่งกิ่งจะตัดกิ่งที่มีอายุมากแล้วออกเพื่อให้กิ่งใหม่ขึ้นแทน เพราะหากใช้กิ่งที่ให้ผลมาแล้วตั้งแต่ 3 ปี จะทำให้ผลที่ได้มีขนาดเล็กลง สำหรับกิ่งที่ยาวมากทั้งด้านข้างหรือในแนวสูงให้ตัดปลายกิ่งออก เพื่อให้มีลักษณะทรงพุ่มที่พอเหมาะสำหรับการเก็ฐผล ไม่กว้างหรือไม่สูงเกินไป นอกจากนั้น การตัดแต่งกิ่งยังช่วยในเรื่องการถ่ายเทของลมได้ดี แสงแดดสามารถส่องได้ทั่วถึงในทรงพุ่ม
การห่อผล
เป็นวิธีการที่ใช้ในการป้องกันการกัดกินผลของแมลง และสัตว์ต่างๆ รวมถึงเชื้อราหรือสภาพแวดล้อมต่างๆที่อาจทำให้ผลเสียรูปไม่สวยงามได้ มีขั้นตอนการห่อ ดังนี้
– ก่อนการห่อให้ฉีดพ่นผลด้วยยากำจัดเชื้อราก่อน หรือหากต้องการใช้วิธีธรรมชาติให้ฉีดพ่นด้วยน้ำต้มสมุนไพร อาทิ บรเพ็ด สะเดา เป็นต้น
– วัสดุที่ใช้ควรเป็นกระดาษชนิดเคลือบมัน หากใช้ถุงพลาสติกให้ห่อทับด้วยกระดาษอีกชั้น
– การห่อเริ่มด้วยการม้วนกระดาษเป็นวงกลมตามขนาดของผล และสวมครอบผล พร้อมรัดกระดาษ หรือพลาสติกด้วยสายรัด ณ จุดที่เป็นกิ่งของผลจะดีที่สุด
เป็นวิธีการที่ใช้ในการป้องกันการกัดกินผลของแมลง และสัตว์ต่างๆ รวมถึงเชื้อราหรือสภาพแวดล้อมต่างๆที่อาจทำให้ผลเสียรูปไม่สวยงามได้ มีขั้นตอนการห่อ ดังนี้
– ก่อนการห่อให้ฉีดพ่นผลด้วยยากำจัดเชื้อราก่อน หรือหากต้องการใช้วิธีธรรมชาติให้ฉีดพ่นด้วยน้ำต้มสมุนไพร อาทิ บรเพ็ด สะเดา เป็นต้น
– วัสดุที่ใช้ควรเป็นกระดาษชนิดเคลือบมัน หากใช้ถุงพลาสติกให้ห่อทับด้วยกระดาษอีกชั้น
– การห่อเริ่มด้วยการม้วนกระดาษเป็นวงกลมตามขนาดของผล และสวมครอบผล พร้อมรัดกระดาษ หรือพลาสติกด้วยสายรัด ณ จุดที่เป็นกิ่งของผลจะดีที่สุด
การปลิดผล
เป็นวิธีการปลิดผลดิบให้เหลือผลเพียง 2-3 ผล/กิ่ง เพื่อให้ลูกที่เด่น และสมบูรณ์ที่สุดเจริญเติบโต ซึ่งการปลิดผลดิบจะเริ่มปลิดผลเมื่อผลทั้งหมดติด และโต ขนาดประมาณเท่าลูกมะนาว โดยให้ทำการเลือกปลิดผลที่มีขนาดเล็กสุดออก ให้เหลือผลที่มีขนาดใหญ่ไว้เพียงจำนวนข้างต้น
เป็นวิธีการปลิดผลดิบให้เหลือผลเพียง 2-3 ผล/กิ่ง เพื่อให้ลูกที่เด่น และสมบูรณ์ที่สุดเจริญเติบโต ซึ่งการปลิดผลดิบจะเริ่มปลิดผลเมื่อผลทั้งหมดติด และโต ขนาดประมาณเท่าลูกมะนาว โดยให้ทำการเลือกปลิดผลที่มีขนาดเล็กสุดออก ให้เหลือผลที่มีขนาดใหญ่ไว้เพียงจำนวนข้างต้น
การเก็บผลผลิต
การเก็บผลควรเก็บผลที่แก่หรือกำลังห่าม ซึ่งโดยทั่วไปจะมีอายุประมาณ 4-5 เดือน (ไม่ควรเก็บผลที่ยังไม่ห่ามหรือผลที่ไกล้สุก) ลักษณะผลที่เหมาะสมต่อการเก็บจะสังเกตได้จากสี และผิวของผล ซึ่งจะมีลักษณะสีตามสายพันธุ์ เช่น แป้นสีทองผลที่ได้ระยะเก็บจะมีสีเขียวอ่อนออกเหลือง ผิวมีลักษณะเต่งตึง ขั้วผลเรียวเล็กสีเขียวอ่อน การเก็บจะใช้กรรไกรตัดชิดขั้วผล รวบรวมใส่กะบะพลาสติก พร้อมนำเข้าร่มทำความสะอาด รอส่งจำหน่าย
การเก็บผลควรเก็บผลที่แก่หรือกำลังห่าม ซึ่งโดยทั่วไปจะมีอายุประมาณ 4-5 เดือน (ไม่ควรเก็บผลที่ยังไม่ห่ามหรือผลที่ไกล้สุก) ลักษณะผลที่เหมาะสมต่อการเก็บจะสังเกตได้จากสี และผิวของผล ซึ่งจะมีลักษณะสีตามสายพันธุ์ เช่น แป้นสีทองผลที่ได้ระยะเก็บจะมีสีเขียวอ่อนออกเหลือง ผิวมีลักษณะเต่งตึง ขั้วผลเรียวเล็กสีเขียวอ่อน การเก็บจะใช้กรรไกรตัดชิดขั้วผล รวบรวมใส่กะบะพลาสติก พร้อมนำเข้าร่มทำความสะอาด รอส่งจำหน่าย
ดอกเดี่ยว
จำปี
มีชื่อตามภาษาท้องถิ่นว่า จุมปี, จุ๋มปี๋ มีถิ่นกำเนิดทางตอนใต้ของจีน มาเลเซียและอินโดนีเซีย แบ่งเป็นสปีชีส์ได้ประมาณ 50 ชนิด
ชื่อวิทยาศาสตร์: Magnolia × alba
สายพันธุ์ที่เหนือกว่า: แมกโนเลีย
ชั้น: ลูกผสม
สรรพคุณของจำปี
- สมุนไพรจำปี ช่วยบำรุงธาตุ (ดอก,ผล)
- ช่วยแก้คลื่นเหียน อาเจียน (ดอก,ผล)
- ดอกจำปี สรรพคุณช่วยบำรุงหัวใจ (ดอก)
- สรรพคุณดอกจำปี ช่วยบำรุงประสาท (ดอก)
- กลีบดอกมีน้ำมันหอมระเหย สามารถใช้ทาแก้อาการปวดศีรษะได้ (กลีบดอก)
- น้ำมันดอกจำปีมีสารที่ออกฤทธิ์ในการสงบประสาทและช่วยต่อต้านเชื้อจุลินทรีย์ (ดอก)
- ช่วยแก้อาการตาบวม (น้ำมันจากดอกจำปี)
- จำปี สรรพคุณช่วยบำรุงโลหิต (ดอก)
- ช่วยแก้ไข้ (เปลือกต้น,ดอก,ผล)
- น้ำที่สกัดจากใบมีฤทธิ์ช่วยระงับอาการไอ หอบได้ แต่ได้แค่เพียงชั่วคราวเท่านั้น (ใบ)
- ใบใช้ต้มแก้หลอกลมอักเสบเรื้อรัง (ใบ)
- สรรพคุณของจำปี ดอกช่วยบำรุงน้ำดี (ดอก)
- ช่วยขับปัสสาวะ (ดอก,ผล)
- ใช้ต้มแก้ต่อมลูกหมากอักเสบ (ใบ)
- ช่วยบำรุงประจำเดือน (แก่น)
- ช่วยขับระดูขาวของสตรี (ใบ)
- ดอกตูมใช้สำหรับการรักษาอาการหลังการแท้งบุตร (ดอกตูม)
การขยายพันธุ์
การขยายพันธุ์ จำปี นิยมใช้วิธีตอนกิ่ง โดยจะทำการตอนในช่วงฤดูฝนเพราะจะออกรากดีที่สุด ในฤดูอื่นไม่นิยมการตอนกิ่งเลย ส่วนการเพาะเมล็ดจะไม่นิยมทำกันเพราะการติดเมล็ดยากกว่าจำปา จำปา นิยมขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด เนื่องจากการติดเมล็ดง่ายและมีจำนวนมาก ในปัจจุบันมีการขยายพันธุ์โดยการตอนอีกด้วย เพราะว่าจะได้ต้นที่เจริญเติบโตเร็วกว่าการเพาะเมล็ด แต่ยังไม่นิยมทำกันมากนัก เพราะจำปาจะออกรากยาก เมื่อเราจะตอน จะต้องเตือนกิ่งทิ้งไว้ก่อน จึงจะทำการตอนได้
การขยายพันธุ์ จำปี นิยมใช้วิธีตอนกิ่ง โดยจะทำการตอนในช่วงฤดูฝนเพราะจะออกรากดีที่สุด ในฤดูอื่นไม่นิยมการตอนกิ่งเลย ส่วนการเพาะเมล็ดจะไม่นิยมทำกันเพราะการติดเมล็ดยากกว่าจำปา จำปา นิยมขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด เนื่องจากการติดเมล็ดง่ายและมีจำนวนมาก ในปัจจุบันมีการขยายพันธุ์โดยการตอนอีกด้วย เพราะว่าจะได้ต้นที่เจริญเติบโตเร็วกว่าการเพาะเมล็ด แต่ยังไม่นิยมทำกันมากนัก เพราะจำปาจะออกรากยาก เมื่อเราจะตอน จะต้องเตือนกิ่งทิ้งไว้ก่อน จึงจะทำการตอนได้
วิธีการปลูก : พรวนดินและพลิกดินขึ้นตากผสมปุ๋ยคอกและปูนขาวพึ่งไว้ 1 สัปดาห์ จากนั้นก็ขุดหลุมขนาด 1/1/1 เมตร ตากดินให้แห้งแล้วจึงผสมด้วยปุ๋ยคอกมูลสัตว์ 1 ปุ้งกี๋ ไว้กลบลงในหลุม รองก้นหลุมด้วยเศษกระดูกสัตว์ก่อนปลูก หากจะปลูกเพื่อเก็บดอกจำหน่าย ใช้ระยะปลูกระหว่างต้น 4 เมตร ระหว่างแถว 6 เมตร ถ้าเป็นพื้นราบ แต่หากปลูกแบบยกร่องให้ปลูกเป็นแถวเดียว ระยะเวลาที่เหมาะสมกับการปลูกคือ ปลายฤดูฝนตั้งแต่เดือนตุลาคมถึงธันวาคม และก่อนหลังฤดูแล้งคือตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม การให้น้ำ หลังปลูกเสร็จแล้วควรรดน้ำทุกวันเช้า-เย็น จนกว่าต้นจะตั้งตัวได้จึงรดน้ำวันละครั้ง แต่หากเป็นหน้าแล้งควรรดน้ำวันละ 2 ครั้ง เนื่องจากหากได้น้ำไม่เพียงพอก็จะออกดอกน้อย การให้ปุ๋ย ควรใส่ปุ๋ยเดือนละครั้ง โดยหยอดเป็นหลุมรอบทรงพุ่มแล้วกลบดิน รดน้ำให้ชุ่ม ส่วนปุ๋ยคอกและปูนขาวให้ใส่ปีละครั้งพร้อมการพรวนดิน
การดูแลรักษา
-การให้น้ำ จำปี-จำปา เป็นไม้ที่ชอบน้ำมาก แต่อย่าให้น้ำขัง จึงจำเป็นต้องรดน้ำทุกวัน โดยเฉพาะในช่วงฤดูแล้งมาก ๆ อาจต้องรดวันละ 2 ครั้ง ก็ได้ ถ้าให้น้ำไม่เพียงพอจะให้ดอกน้อยลง
-การให้ปุ๋ย หลังจากจำปี-จำปา ตั้งตัวได้ดีแล้ว (ประมาณ 24 สัปดาห์) ควรมีการใส่ปุ่ยอัตรา 2-3 กก./ต้น/ปี โดยเจาะใส่เป็นหลุม ตามแนวของทรงพุ่ม การใส่ปุ๋ยควรใส่เดือนละครั้ง หลังจากใส่ปุ๋ยแล้วควรรดน้ำตามด้วย นอกจากนี้ยังมีการใส่ปุ๋ย คอกและปูนขาวทุกปีเพื่อปรับสภาพดินให้ดีขึ้น
-การตัดแต่งกิ่ง เมื่อต้นมีอายุตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป จะมีลำต้นสูง จะต้องตัดแต่งโดยตัดยอดให้ต่ำลง เพื่อให้แตกกิ่งใหม่ สะดวกในการเก็บดอก แล้วควรตัดกิ่งแก่ กิ่งแห้งออกด้วย เพื่อให้ทรงต้นโปร่งไม่เป็นที่สะสมของโรคและแมลง
โรคแมลงและการป้องกันกำจัด
โรคใบแก้ว จะพบในจำปา ส่วนจำปีไม่ค่อยพบ สาเหตุเกิดจากการเตรียมดินไม่ดีอาการเหมือนกับโรคใบแก้วของส้ม คือ ใบจะเป็นสีเหลืองบริเวณยอด ส่วนเส้นใบจะเป็นสีเขียว ขนาดดอกเล็กลง และมีสีเปลี่ยนไป การแก้ไข ทำได้โดยการปรับปรุงดินให้มีสภาพดีขึ้นโดยการใส่ปุ๋ยคอก และปูนขาว
โรคกิ่งแตก สาเหตุการเกิดโรคยังไม่ทราบว่าเกิดจากอะไร อาการจะพบว่าที่กิ่งและลำต้นเปลือกนอกของกิ่ง จะแตกเต็มไปหมด ทำให้ออกดอกน้อยลง จะพบในต้นที่มีอายุมาก ๆ การแก้ไข ให้โค่นต้นทิ้งแล้วปลูกใหม่
หนอน จะทำลายทั้งต้นและดอก ทำให้ใบเหี่ยวและดอกเสียหายถ้าปล่อยไว้ ต้นอาจตายได้ การป้องกันกำจัด ใช้สารเคมีฆ่าแมลง เช่น แลนเนต อโซดริน ริพคอร์ด ฉีดพ่นเดือนละ 1 ครั้ง
การเก็บดอก
การเก็บดอก เมื่อต้นมีอายุประมาณ 1 ปีครึ่ง หรือสูงประมาณ 1-5 เมตร ก็จะเริ่มออกดอกการเก็บดอกจะเก็บเมื่อดอกบาน เวลาในการเก็บไม่พร้อมกัน เนื่องจากการบานของดอกไม่พร้อมกัน ดอกจำปีจะเก็บวันละ 2 รอบ คือ ช่วงเย็น และในตอนเช้ามีด ส่วนจำปาจะเก็บตอนเช้ามีดอย่างเดียว ระยะเวลาจากดอกตูมถึงดอกบานที่เก็บขายได้ ประมาณ 25-30 วัน สิ่งสำคัญในการเก็บดอก คือ ห้ามดึงโดยเด็ดขาดเพราะจะทำให้ยอดหรือขั้วช้ำ จะใช้วิธีการเด็ดแต่ถ้าสูงเกินไปใช้ไม้ทำเป็นง่ามตอนปลาย บิดออกตรงขั้วให้หลุดลงมา
การเก็บดอก เมื่อต้นมีอายุประมาณ 1 ปีครึ่ง หรือสูงประมาณ 1-5 เมตร ก็จะเริ่มออกดอกการเก็บดอกจะเก็บเมื่อดอกบาน เวลาในการเก็บไม่พร้อมกัน เนื่องจากการบานของดอกไม่พร้อมกัน ดอกจำปีจะเก็บวันละ 2 รอบ คือ ช่วงเย็น และในตอนเช้ามีด ส่วนจำปาจะเก็บตอนเช้ามีดอย่างเดียว ระยะเวลาจากดอกตูมถึงดอกบานที่เก็บขายได้ ประมาณ 25-30 วัน สิ่งสำคัญในการเก็บดอก คือ ห้ามดึงโดยเด็ดขาดเพราะจะทำให้ยอดหรือขั้วช้ำ จะใช้วิธีการเด็ดแต่ถ้าสูงเกินไปใช้ไม้ทำเป็นง่ามตอนปลาย บิดออกตรงขั้วให้หลุดลงมา
ส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์ : ดอก, ใบ และ ผล
สรรพคุณทางยา :
สรรพคุณทางยา :
ดอก ช่วยบำรุงธาตุ ช่วยแก้คลื่นเหียน อาเจียน ช่วยบำรุงหัวใจ ช่วยบำรุงประสาท แก้อาการปวดศีรษะ ช่วยต่อต้านเชื้อจุลินทรีย์ ช่วยแก้อาการตาบวม ช่วยบำรุงโลหิต ช่วยบำรุงน้ำดี ช่วยขับปัสสาวะ รักษาอาการหลังการแท้งบุตร
ใบ ช่วยระงับอาการไอ หอบ ช่วยแก้หลอกลมอักเสบเรื้อรัง ช่วยแก้ต่อมลูกหมากอักเสบ ช่วยขับระดูขาวของสตรี
ผล ช่วยบำรุงธาตุ ช่วยแก้คลื่นเหียน อาเจียน ช่วยแก้ไข้ ช่วยขับปัสสาวะ
วิธีการใช้ :
ช่วยบำรุงธาตุ ช่วยแก้คลื่นเหียน อาเจียน ช่วยบำรุงหัวใจ ช่วยบำรุงประสาท แก้อาการปวดศีรษะ ช่วยต่อต้านเชื้อจุลินทรีย์ช่วยแก้อาการตาบวม ช่วยบำรุงโลหิต ช่วยบำรุงน้ำดี ช่วยขับปัสสาวะ รักษาอาการหลังการแท้งบุตร นำดอกมาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน
ช่วยระงับอาการไอ หอบ ช่วยแก้หลอกลมอักเสบเรื้อรัง ช่วยแก้ต่อมลูกหมากอักเสบ ช่วยขับระดูขาวของสตรี นำใบมาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน
ช่วยบำรุงธาตุ ช่วยแก้คลื่นเหียน อาเจียน ช่วยแก้ไข้ ช่วยขับปัสสาวะ นำผลมาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน
ดอกเดี่ยว
บัวสาย
หรือ Nymphaeaceae เป็นวงศ์ของพืชมีดอกที่เป็นไม้น้ำ มีไรโซม มีสมาชิกประมาณ 70 สปีชีส์ สกุล Nymphaea ประกอบด้วย 35สปีชีส์ในซีกโลกเหนือ สกุลVictoria มีสองสปีชีส์ที่เป็นพืชท้องถิ่นในอเมริกาใต้ ขึ้นในดินโคลนที่มีน้ำท่วมขัง ใบลอยบนผิวน้ำ ใบกลม
ชื่อวิทยาศาสตร์: Nymphaeaceae
สายพันธุ์ที่เหนือกว่า: อันดับบัวสาย
ชั้น: วงศ์
สรรพคุณทางยา คุณค่าของ “ดอกบัว”
ในด้านคุณประโยชน์ของดอกบัวที่มีต่อร่างกายนั้น ดอกบัวถือเป็นดอกไม้ที่เราสามารถนำไปใช้เพื่อรักษาและป้องกันโรคภัยต่างๆ ได้ทุกส่วนกันเลยทีเดียว ตั้งแต่ดอกบัว เม็ดบัว รากบัว ไหลบัว สายบัว ใบบัว เกสรบัว และดีบัว เพราะแต่ละส่วนของดอกบัวล้วนอุดมไปด้วยสารอาหารสำคัญอย่างเส้นใยอาหาร น้ำตาล วิตามินบีหลายชนิด เกลือแร่ต่างๆ โคลีน แคลเซียม เหล็ก โซเดียม สังกะสี เป็นต้น
ทำให้ดอกบัวมีสรรพคุณเป็นทั้งอาหารและยาที่ให้ประโยชน์มากมายแก่สุขภาพ โดยจะทำให้การทำงานของร่างกายโดยรวมสมบูรณ์และแข็งแรงจากภายในออกมาสู่ภายนอก ช่วยบำรุงอวัยวะต่างๆ ไม่ให้เสื่อมก่อนเวลาอันควร ลดความเสี่ยงที่จะเกิดอาการเจ็บป่วยให้น้อยลงหรือไม่มีเลยก็ได้
11 สรรพคุณของดอกบัว ประโยชน์ในการรักษาโรค
1. ดอกบัวเหมาะกับคนที่มีอาการอ่อนเพลีย เพิ่งหายจากอาการป่วยไม่สบาย หรือในหญิงตั้งครรภ์แล้วมีอาการแพ้ท้อง อาเจียนจนไม่มีแรง ให้กินเม็ดบัวอาจเป็นแบบสดหรือแบบแห้งก็ได้ เพราะเป็นแหล่งรวมของสารอาหารหลายชนิดสูง เพิ่มพลังงานให้ร่างกาย ทำให้กลับมามีแรงยิ่งขึ้น
2. ดอกบัวมีสรรพคุณช่วยบรรเทาอาการหวัด แก้อาการคัดจมูก น้ำมูกไหล และยังเป็นยาแก้ไอ แก้ไข้ ด้วยการหั่นใบบัวให้ละเอียด ตากแดดจนแห้ง จึงนำมาใช้มวนเพื่อสูดดมกลิ่น
3. ดอกบัวเกือบทุกส่วนมีคุณสมบัติที่ช่วยรักษาอาการท้องเสีย ท้องเดิน ท้องร่วง หรือมีอาการบิดเรื้อรัง ช่วยบรรเทาอาการอักเสบของลำไส้
4. ประโยชน์ของดอกบัวเป็นยาบำรุงร่างกายที่ดี ไม่ว่าจะเป็นกลีบดอก เม็ดบัว เกสรบัว ใบแก่หรือรากบัว ต่างก็มีสรรพคุณที่ช่วยบำรุงกำลัง ทำให้ร่างกายสดชื่น บำรุงเลือด บำรุงหัวใจ บำรุงตับ บำรุงไต บำรุงครรภ์ เป็นต้น
5. สรรพคุณของดอกบัวมีฤทธิ์ช่วยให้ร่างกายผ่อนคลายจากความเครียด มีอารมณ์หงุดหงิดหรือมีความวิตกกังวล ดูแลระบบประสาทและบำรุงสมอง ทำให้นอนหลับได้ง่ายขึ้น ร่างกายได้พักผ่อนอย่างเต็มที่
6. ดอกบัวใช้เป็นยาช่วยรักษาแผลพุพอง ฝาดสมานแผล และยังมีสรรพคุณช่วยห้ามเลือด ทำให้เลือดหยุดไหลออกมาได้เร็วขึ้น
7. ดอกบัวมีสรรพคุณช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะเม็ดบัวที่เป็นแหล่งรวมของสารต้านอนุมูลอิสระหลายชนิด จึงช่วยยับยั้งการเกิดโรคมะเร็งได้ ช่วยป้องกันไม่ให้เซลล์ของอวัยวะภายในร่างกายเสื่อมเร็ว รวมถึงในส่วนของผิวพรรณก็ไม่เหี่ยวย่น ริ้วรอยลดลง และชะลอความแก่
8. ดอกบัวถือเป็นยาโบราณที่มีฤทธิ์ช่วยลดความดันโลหิตสูง ขยายหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ และลดไขมันในเส้นเลือด จึงเป็นอาหารและยาที่ดีสำหรับคนที่มีอาการเกี่ยวกับโรคเหล่านี้
9. ดอกบัวมีสรรพคุณแก้อาการปวดหัว ปวดท้ายทอย วิงเวียน มึนงง มีอาการหน้ามืดคล้ายจะเป็นลม โดยการใช้เกสรบัวมาเป็นส่วนผสมในยาหอม เมื่อชงน้ำดื่มแล้วจะช่วยให้อาการดีขึ้น ทำให้ชุ่มชื่นใจ ช่วยชูกำลัง และยังช่วยขับเสมหะ
10. ดอกบัวในส่วนของดีบัวนั้นมีคุณสมบัติที่สามารถเพิ่มแรงบีบตัวของหัวใจ และลดไขมันที่ไปเกาะบริเวณผนังหลอดเลือดได้เป็นอย่างดี เสริมสร้างให้หัวใจแข็งแรงทำงานได้ดีขึ้น
11. ดอกบัวยังมีประโยชน์ทำเป็นอาหารได้ทั้งคาว อาทิ แกงส้มสายบัว ใส่ในแกงเลียงหรือผัดเผ็ด และเป็นผักจิ้มน้ำพริก ส่วนของหวาน เช่น เม็ดบัวเชื่อม ขนมหม้อแกงใส่เม็ดบัว น้ำรากบัว ฯลฯ นอกจากนี้ใบบัวยังใช้ห่ออาหารอย่างข้าวห่อใบบัว และแม้กระทั่งใช้ห่อสิ่งของก็ยังได้
วิธีปลูกบัว
-ใส่ดินเหนียวที่ก้นกระถาง หนาสัก 3-5 นิ้วขึ้นไป
-นำต้นบัว วางบนดินในกระถาง กดให้แน่นพอสมควร แต่อย่าแรงมาก เดี๋ยวรากมีปัญหา
-ใส่ปุ๋ยชนิดเม็ด ฝังในดินเหนียวสัก 2- 4 เม็ด
-ใส่น้ำ ให้เต็ม
วิธีการดูแลบัว เพื่อให้ดอกงาม
-บัวต้องการแสงแดด ปลูกในที่ร่ม ระวังไม่เห็นดอก
-ทุกอาทิตย์ ให้ช้อนสาหร่ายที่อยู่ใต้น้ำออก เพราะเป็นตัวที่ทำให้บัวไม่เจริญเติบโต
-ใส่ปุ๋ยสัก 1-2 อาทิตย์ครั้ง
-เปลี่ยนน้ำทุกๆ อาิิทิตย์ ถ้าสะดวก หรืออย่างน้อยสักเดือนละ 1-2 ครั้ง
-เติมดินบ้าง เพื่อให้อุดมสมบูรณ์มากขึ้น
-รับประกัน เพียงเท่านี้ บัวของคุณจะออกดอกให้คุณได้ชื่นใจ ได้ทุกๆ วัน
ดอกเดี่ยว
ดอกชบา
เป็นพืชมีดอกในสกุล Hibisceae วงศ์ Malvaceae เป็นพืชพื้นเมืองในเอเชียตะวันออก ชาวโอรังอัสลีในรัฐเประก์ มาเลเซีย ใช้เปลือกรากแช่ในน้ำข้ามคืนและดื่มขณะท้องว่างเพื่อรักษาฝี
ชื่อวิทยาศาสตร์: Hibiscus syriacus
สายพันธุ์ที่เหนือกว่า: สกุลชบา
ชั้น: สปีชีส์
สรรพคุณชบา
ใบ และดอก นำมาต้มดื่มหรือใช้เติมแต่งอาหาร
– ต้านโรคมะเร็ง
– บำรุงตับ ป้องกันตับเสื่อมจากสารพิษ
– ช่วยบำรุงผิวพรรณ เพิ่มความชุ่มชื้นแก่ผิว
ใบ และดอก นำมาต้มดื่มหรือใช้เติมแต่งอาหาร
– ต้านโรคมะเร็ง
– บำรุงตับ ป้องกันตับเสื่อมจากสารพิษ
– ช่วยบำรุงผิวพรรณ เพิ่มความชุ่มชื้นแก่ผิว
ใบ และดอก นำมาใช้ภายนอกร่างกาย
ใบหรือดอก นำมาขยำให้เกิดเมือกหรือผสมน้ำเล็กน้อย ก่อนใช้ทา ใช้ประคบหรือใช้สระ มีสรรพคุณ ดังนี้
– รักษาแผลไฟไหม้ แผลน้ำร้อนลวก
– รักษาแผลสด
– รักษาแผลติดเชื้อ แผลมีน้ำหนอง
– ป้องกันการอักเสบ และการติดเชื้อของแผล
– ช่วยลดอาการบวมซ้ำ
– กระตุ้นการงอกของเส้นผม
– บำรุงผมให้ดกดำ
ใบหรือดอก นำมาขยำให้เกิดเมือกหรือผสมน้ำเล็กน้อย ก่อนใช้ทา ใช้ประคบหรือใช้สระ มีสรรพคุณ ดังนี้
– รักษาแผลไฟไหม้ แผลน้ำร้อนลวก
– รักษาแผลสด
– รักษาแผลติดเชื้อ แผลมีน้ำหนอง
– ป้องกันการอักเสบ และการติดเชื้อของแผล
– ช่วยลดอาการบวมซ้ำ
– กระตุ้นการงอกของเส้นผม
– บำรุงผมให้ดกดำ
ราก และลำต้น นำมาต้มดื่ม
– แก้อาการไอ อาการระคายคอ
– ช่วยขับเสมหะ
– รักษาหลอดลมอักเสบ
– รักษาประจำเดือนมาไม่ปกติ
– รักษาอาการตกขาว
– รักษาอาการเลือดไหลทางช่องคลอด
– รักษามดลูกอักเสบ
– รักษาอาการตกขาว
– รักษาอาการเลือดไหลทางช่องคลอด
– แก้อาการไอ อาการระคายคอ
– ช่วยขับเสมหะ
– รักษาหลอดลมอักเสบ
– รักษาประจำเดือนมาไม่ปกติ
– รักษาอาการตกขาว
– รักษาอาการเลือดไหลทางช่องคลอด
– รักษามดลูกอักเสบ
– รักษาอาการตกขาว
– รักษาอาการเลือดไหลทางช่องคลอด
การเพาะปลูกดอกชบา
การปลูกเลี้ยงและการดูแลรักษา
ชบาเป็นพืชที่ปลูกเลี้ยงง่าย ถ้ามีการดูแลรักษาอยู่เหมาะสม จะทำให้ชบาออกดอกสวยงามตลอดปี ดินปลูก ควรเป็นดินร่วนซุย มีการระบายน้ำดี อาจผสมดินร่วน ขี้เถ้าแกลบ การมะพร้าวสับ และปุ๋ยคอก อย่างละ 1 ส่วน คลุกเคล้าให้เข้ากัน การให้น้ำขึ้นอยู่กับฤดูกาลและสภาพอากาศ เช่น ในฤดูฝนควรให้น้ำเมื่อเห็นว่าฝนไม่ตก เป็นเวลานานหรือผิวดินแห้ง ส่วนใหญ่ฤดูแล้งให้น้ำเพียงวันละครั้ง และไม่ควรมีน้ำขังแฉะ ควรให้ปุ๋ยสูตร เสมอ เช่น 16-16-16 หรือ 15-15-15 ทุกๆ เดือน เดือนละครั้ง พร้อมกับพรวมดินรอบพุ่มต้น ส่วนปุ๋ยอินทรีย์ เช่น ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก นำมาปรับปรุงดินเป็นตรั้งคราว โดยธรรมชาติเป็นพืชที่ต้องการแสงแดดจัด ขึ้นได้ในดินทุก สภาพ และมักจะทนแล้งได้ดี
การขยายพันธุ์
มีหลายวิธี ขึ้นอยู่กับวัตถุปรัสงค์ และความสะดวกในการทำ ได้แก่
ปักชำ เตรียมกิ่งชำขนาดเส้นผ่าศุนย์กลางประมาณ 1 ซม. ลิดในออกบางส่วน เพื่อลดการคายน้ำ ตัดส่วน โคนในแนวเฉียงและกรีดตามยาวประมาณ 2 ซม. 2-3 รอยที่โคนกิ่ง วัสดุชำมักใช้ทรายผสมกับขี้เถ้า- แกลบปริมาณเท่าๆ กัน ปักกิ่งชำในแนวเฉียงเล็กน้อย แต่ละกิ่งห่างกันประมาณ 10 ซม. นำไปไว้ในกระ บะพ่นหมอกหรือใสุ่งพลาสติกประมาณ 2 สัปดาห์กิ่งชำจะออกราก ย้ายปลูกลงในกระถางหรือถุงต่อไป วิธีนี้จะได้ต้นจำนวนมาก
เสียบยอด นิยมใช้พู่ระหง ชบา หรือชบาด่างเป็นต้นตอ เนื่องจากมีความแแข็งแรงทนทานต่อสภาพแวด ล้อม เลือกต้นตอที่มีลำต้นตรง ลิดใบออกบางส่วน ตัดยอดออก แล้วใช้มีดผ่าลงกลางรอยตัดยาวประมาณ 3 ซม. สำหรับกิ่งพันธุ์ต้องมีตา 2-3 ตา ยาวประมาณ 10 ซม. เฉือนโคนทั้งสองด้านเป็นรูปลิ่ม รอยเฉือน ด้านหน้ายาวประมาณ 2-3 ซม. เสีบยลงบนต้นตอให้รอยแผลทาบกันสนิทดี พันพลาสติกจากล่างขึ้นบน ให้แน่น หลักจากนั้น 2-3 สัปดาห์ แกะพลาสติกตรวจดูรอยแผล วิธีนี้จะทำให้ได้ต้นพันธุ์ดีที่เจริญเร็ว
ติดตา นิยมใช้วิธีนี้เมื่อกิ่งพันธุ์มีจำนวนน้อย วิธีทำก็เช่นเดียวกับการติดตาพืชทั่วๆ ไป โดยจะใช้เวลาประ มาณ 2 สัปดาห์หลังการติดตาจึงแกะพลาสติกออก หรือเมื่อเห็นว่าตาที่ติดเริมเจริญขึ้น
การดูแลรักษา
แสง ชอบแสงแดดมาก
น้ำ ต้องการน้ำพอประมาณ
ดิน เป็นไม้ที่ปลูกได้ง่ายสามารถเจริญเติบโตได้ในดินแทบทุกชนิด แต่ไม่ควรให้ดินเปียกหรือแฉะเกินไป
ปุ๋ย ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก
ชบาเป็นพืชที่ปลูกเลี้ยงง่าย ถ้ามีการดูแลรักษาอยู่เหมาะสม จะทำให้ชบาออกดอกสวยงามตลอดปี ดินปลูก ควรเป็นดินร่วนซุย มีการระบายน้ำดี อาจผสมดินร่วน ขี้เถ้าแกลบ การมะพร้าวสับ และปุ๋ยคอก อย่างละ 1 ส่วน คลุกเคล้าให้เข้ากัน การให้น้ำขึ้นอยู่กับฤดูกาลและสภาพอากาศ เช่น ในฤดูฝนควรให้น้ำเมื่อเห็นว่าฝนไม่ตก เป็นเวลานานหรือผิวดินแห้ง ส่วนใหญ่ฤดูแล้งให้น้ำเพียงวันละครั้ง และไม่ควรมีน้ำขังแฉะ ควรให้ปุ๋ยสูตร เสมอ เช่น 16-16-16 หรือ 15-15-15 ทุกๆ เดือน เดือนละครั้ง พร้อมกับพรวมดินรอบพุ่มต้น ส่วนปุ๋ยอินทรีย์ เช่น ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก นำมาปรับปรุงดินเป็นตรั้งคราว โดยธรรมชาติเป็นพืชที่ต้องการแสงแดดจัด ขึ้นได้ในดินทุก สภาพ และมักจะทนแล้งได้ดี
การขยายพันธุ์
มีหลายวิธี ขึ้นอยู่กับวัตถุปรัสงค์ และความสะดวกในการทำ ได้แก่
ปักชำ เตรียมกิ่งชำขนาดเส้นผ่าศุนย์กลางประมาณ 1 ซม. ลิดในออกบางส่วน เพื่อลดการคายน้ำ ตัดส่วน โคนในแนวเฉียงและกรีดตามยาวประมาณ 2 ซม. 2-3 รอยที่โคนกิ่ง วัสดุชำมักใช้ทรายผสมกับขี้เถ้า- แกลบปริมาณเท่าๆ กัน ปักกิ่งชำในแนวเฉียงเล็กน้อย แต่ละกิ่งห่างกันประมาณ 10 ซม. นำไปไว้ในกระ บะพ่นหมอกหรือใสุ่งพลาสติกประมาณ 2 สัปดาห์กิ่งชำจะออกราก ย้ายปลูกลงในกระถางหรือถุงต่อไป วิธีนี้จะได้ต้นจำนวนมาก
เสียบยอด นิยมใช้พู่ระหง ชบา หรือชบาด่างเป็นต้นตอ เนื่องจากมีความแแข็งแรงทนทานต่อสภาพแวด ล้อม เลือกต้นตอที่มีลำต้นตรง ลิดใบออกบางส่วน ตัดยอดออก แล้วใช้มีดผ่าลงกลางรอยตัดยาวประมาณ 3 ซม. สำหรับกิ่งพันธุ์ต้องมีตา 2-3 ตา ยาวประมาณ 10 ซม. เฉือนโคนทั้งสองด้านเป็นรูปลิ่ม รอยเฉือน ด้านหน้ายาวประมาณ 2-3 ซม. เสีบยลงบนต้นตอให้รอยแผลทาบกันสนิทดี พันพลาสติกจากล่างขึ้นบน ให้แน่น หลักจากนั้น 2-3 สัปดาห์ แกะพลาสติกตรวจดูรอยแผล วิธีนี้จะทำให้ได้ต้นพันธุ์ดีที่เจริญเร็ว
ติดตา นิยมใช้วิธีนี้เมื่อกิ่งพันธุ์มีจำนวนน้อย วิธีทำก็เช่นเดียวกับการติดตาพืชทั่วๆ ไป โดยจะใช้เวลาประ มาณ 2 สัปดาห์หลังการติดตาจึงแกะพลาสติกออก หรือเมื่อเห็นว่าตาที่ติดเริมเจริญขึ้น
การดูแลรักษา
แสง ชอบแสงแดดมาก
น้ำ ต้องการน้ำพอประมาณ
ดิน เป็นไม้ที่ปลูกได้ง่ายสามารถเจริญเติบโตได้ในดินแทบทุกชนิด แต่ไม่ควรให้ดินเปียกหรือแฉะเกินไป
ปุ๋ย ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก
ConversionConversion EmoticonEmoticon