ดอกช่อ

ดอกช่อ



ทานตะวัน 
มีชื่อตามภาษาถิ่นพายัพว่า บัวผัด เป็นพืชปีเดียว อยู่ในแฟมิลี Asteraceae มีฐานรองกลุ่มดอก ขนาดใหญ่ ลำต้นโตได้สูงถึง เมตร ฐานรองกลีบดอกอาจกว้างได้ถึง 30 เซนติเมตร ชื่อ"ทานตะวัน"ถูกใช้อ้างอิงถึงพืชทั้งหมดในสกุล Helianthus ด้วยเช่นกัน
ชื่อวิทยาศาสตร์: Helianthus annuus
สายพันธุ์ที่เหนือกว่าทานตะวัน
ชั้นสปีชีส์

ดอกทานตะวัน” มีสรรพคุณทางยา ประโยชน์ทั้งต้น ราก ใบ ดอก เมล็ด
ดอกทานตะวันเป็นดอกไม้ที่จัดเป็นสมุนไพรที่มีสรรพคุณทางยาในการรักษาและป้องกันโรคได้ดี ซึ่งทุกส่วนของต้นดอกทานตะวันนั้นทั้งดอก ใบ เมล็ด ลำต้น และรากล้วนมีประโยชน์ต่อสุขภาพ โดยในดอกทานตะวันเป็นแหล่งของสารอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงและหลากหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นให้พลังงานสูง มีไขมันและเส้นใยอาหาร อุดมด้วยวิตามินเอ วิตามินบีทุกชนิด วิตามินซี วิตามินอี รวมทั้งแคลเซียม สังกะสี ทองแดง ซีลีเนียม เป็นต้น
นอกจากนี้ดอกทานตะวันยังถูกนำมาแปรรูปเพื่อนำไปใช้ประโยชน์อื่นได้อีกมาก อย่างเมล็ดทานตะวันที่สามารถใช้กินเล่นได้แบบเพลินๆ แถมมีคุณค่าต่อร่างกาย หรือน้ำมันดอกทานตะวันซึ่งถือเป็นน้ำมันที่ให้ประโยชน์ต่อสุขภาพเช่นกันเพราะช่วยป้องกันโรคได้ดี หรือในส่วนของต้นอ่อนทานตะวันก็เป็นอาหารสุขภาพที่ช่วยบำรุงร่างกายให้แข็งแรงได้อย่างดียิ่ง
สรรพคุณของดอกทานตะวัน ประโยชน์ในการรักษาโรค
1. ดอกทานตะวันเป็นแหล่งของน้ำมันคุณภาพดี ที่เมื่อนำมาใช้ปรุงอาหารกินแล้วไม่มีโทษต่อร่างกาย เพราะน้ำมันที่สกัดมาจากดอกทานตะวันเป็นน้ำมันไม่อิ่มตัวสูงซึ่งจะช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล ป้องกันการเกิดโรคไขมันอุดตันในเส้นเลือด โรคหลอดเลือดหัวใจได้เป็นอย่างดี
2. น้ำมันจากดอกทานตะวันหรือเมล็ดทานตะวันยังอุดมด้วยวิตามินที่จำเป็นอยู่ครบ จึงนิยมนำมาใช้เป็นส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับอาหาร เช่น เนยเทียม นมไม่มีไขมัน ฯลฯ และในเครื่องสำอาง เช่น ครีมบำรุงผิว ยาสระผมและครีมนวดผม ฯลฯ
3. ดอกทานตะวันเมื่อนำมาทำเป็นน้ำดื่มก็ให้ประโยชน์แก่ร่างกาย ช่วยต้านโรคได้หลายชนิด บำรุงสุขภาพ หายจากอาการเจ็บป่วยเล็กน้อยได้เร็ว อย่างแก้อาการไข้หวัด บรรเทาอาการไอและวิงเวียนศีรษะจะเป็นลม
4. ดอกทานตะวันมีเมล็ดที่นำมากินเป็นอาหารว่าง ซึ่งอุดมด้วยคุณประโยชน์ทางสารอาหารสูง มีโปรตีนที่มีคุณสมบัติเทียบเท่ากับเนื้อสัตว์ จึงเหมาะกับคนกินมังสวิรัติที่ไม่สามารถกินเนื้อสัตว์ได้ แถมยังมีไขมันสูงกว่าแป้ง มีธาตุเหล็กสูงกว่าไข่แดงหรือตับสัตว์อีกด้วย
5. เมล็ดดอกทานตะวันเป็นแหล่งรวมของวิตามินที่สำคัญหลายชนิด โดยเฉพาะวิตามินอีที่มีมากกว่าในถั่วเหลืองและข้าวโพดถึง เท่า ซึ่งมีประโยชน์ในการช่วยรักษาผิวพรรณให้ยังคงความชุ่มชื้น ดูอ่อนเยาว์ เพราะจะต่อต้านอนุมูลอิสระซึ่งเป็นศัตรูสำคัญของผิวพรรณ
6. เมล็ดของดอกทานตะวันมีสรรพคุณช่วยบำรุงเลือด เพิ่มการไหลเวียนของเลือดให้ไปหล่อเลี้ยงส่วนต่างๆ ได้ดีขึ้น ทำให้หัวใจแข็งแรง ป้องกันโรคหัวใจวายและการเกาะตัวของเกล็ดเลือด ลดความดันโลหิตสูง
7. ดอกทานตะวันมีสรรพคุณช่วยชะลอการเกิดโรคต้อกระจก ทำให้สายตาเป็นปกติ มองเห็นได้ชัดเจนไม่เสื่อมเร็ว
8. ประโยชน์ของต้นอ่อนทานตะวันนำมาทานเป็นอาหารได้ ต้นอ่อนทานตะวันที่เพาะมาจากเมล็ดนั้นสามารถนำมาใช้ทำเป็นอาหารรวมถึงน้ำดื่มเพื่อสุขภาพได้ ซึ่งนอกจากจะมีรสชาติกรอบอร่อยและย่อยง่ายแล้ว ยังมีทั้งวิตามินและเกลือแร่หลากหลาย ซึ่งมีประโยชน์ในการช่วยบำรุงสมอง และป้องกันโรคอัลไซเมอร์ได้เป็นอย่างดี
9. ดอกทานตะวันมีสรรพคุณเป็นยาระบาย ที่ช่วยแก้อาการท้องผูก ทำให้ระบบการขับถ่ายเป็นปกติ และยังช่วยขับปัสสาวะ
10. ดอกทานตะวันช่วยให้ระบบสืบพันธุ์เป็นปกติ โดยเฉพาะในผู้หญิงที่ยังช่วยบรรเทาอาการปวดท้องก่อนที่ประจำเดือนจะมา หรือในระหว่างที่มีประจำเดือนก็ทำให้หายจากอาการปวดท้องได้ แก้อาการตกขาวด้วย
11. สรรพคุณดอกทานตะวันมีสรรพคุณช่วยขับลม แก้อาการปวดท้องแน่นหน้าอก รวมทั้งช่วยบรรเทาอาการปวดท้องจากโรคกระเพาะอาหารอักเสบ และแก้โรคบิดได้
12. รากของดอกทานตะวันมีประโยชน์ในทางการแพทย์ ซึ่งจะใช้เป็นอาหารให้แก่ผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานได้ เพราะมีวิตามินบี รวมทั้งแร่ธาตุที่มีสรรพคุณช่วยแก้อาการของโรคนี้ได้ดี
13. ดอกทานตะวันมีฤทธิ์ที่ช่วยถอนพิษไข้ ใช้เป็นยาขับพิษร้อน ทำให้อวัยวะภายในร่างกายมีความชุ่มชื้น
14. ดอกทานตะวันสีเหลืองสวยเด่นมีประโยชน์ใช้ทำเป็นสีย้อมผ้าเพื่อให้เป็นสีเหลือง และนิยมใช้ตกแต่งในงานพิธีต่างๆ หรือใช้เยี่ยมคนป่วยเพราะจะให้ความรู้สึกสดใส

การปลูกดอกทานตะวัน
ขั้นตอนการปลูก :
1. เตรียมดิน โดยดายหญ้าให้เตียน หว่านปุ๋ยคอกอัตรา 1.5 ตัน/ไร่ แล้วไถปรับสภาพพื้นดิน
2. ยกร่องให้กว้าง 150 เซนติเมตร ระยะระหว่างร่อง 75 เซนติเมตร ขุดหลุมบนสันร่อง ระยะระหว่างหลุม 45 เซนติเมตร ใส่ปุ๋ยรองพื้น สูตร 16-20-0 หรือ 25-7-7 อัตรา 20-25 กิโลกรัม/ไร่
3. ใช้เมล็ดพันธุ์ประมาณ 0.8 กิโลกรัม / ไร่ หยอดหลุมละ 2-3 เมล็ด กลบดินหนา        ประมาณ 3-5  เซนติเมตร ให้แน่นพอสมควร
4. ใช้ยาคุมหญ้าประเภทอลาคอร์เมตลาคอร์ อัตรา 300-400 ซีซี/ไร่ หรือ 7-8 ช้อนโต๊ะต่อน้ำ18-20 ลิตร ฉีดพ่นหลังหยอดเมล็ด
5. หลังจากปลูกไปแล้ว 5 – 10 วัน ให้ตรวจดูการงอก และการปลูกซ่อม หลังจากนั้นอีก 5– 8 วัน ถอนแยกให้เหลือ 1 ต้น/หลุม โดยเลือกถอนต้นที่มีขนาดเล็กหรือผิดปกติก่อน 
 6. เมื่ออายุ 25 – 30 วัน ให้พูนดินโคนต้นและกำจัดวัชพืช พร้อมทั้งใส่ปุ๋ยยูเรีย 46-0-0อัตรา 15-20 กิโลกรัม/ไร่ ห่างจากโคนต้น 20เซนติเมตร (อย่าให้ถูกใบ) แล้วกลบปุ๋ย
   
7. ประมาณ 100 – 110 วัน กลีบประดับรอบดอกจะเริ่มเปลี่ยนจากสีเหลืองเป็นสีน้ำตาลให้เก็บเกี่ยวโดยการ ตัดทั้งดอกนำมาตากแดด ให้แห้ง 1 – 2 แดดก่อน แล้วกระเทาะเมล็ดโดยการนวดด้วยเครื่องนวดถั่วเหลืองหรือถั่วลิสง หรือใช้เครื่องสีข้าวฟ่างก็ได้แล้วแต่ความสะดวก (กรณีไม่มีอุปกรณ์และไม่ต้องการลงทุนเอง ก็สามารถจ้างเขาทำได้)

8. ทำความสะอาดเมล็ดให้ดี เก็บไว้ในยุ้งฉางที่ป้องกันแดด กันฝนและแมลงศัตรูได้ ความชื้นที่จะเก็บเมล็ดไว้ควรมีไม่เกิน 10 %การให้น้ำทานตะวันต้องการน้ำพอสมควรในช่วงระยะแรกของการเจริญเติบโต ถ้าปลูกปลายฤดูฝนอาจไม่จำเป็นต้องให้น้ำ แต่ถ้าปลูกในฤดูแล้งควรรดน้ำช่วงระยะ 1 เดือนแรก และระยะ 50วัน (ช่วงมีดอก)


ดอกช่อ


บานชื่น 
เป็นไม้ล้มลุก มักมีขนสาก ระคายทั่วไป ใบเดี่ยวออกตรงข้าม แต่ละคู่ตั้งฉากกัน รูปไข่หรือรี ปลายมนหรือค่อนข้างแหลม ออกเป็นช่อที่ปลายยอด ริ้วประดับมีหลายวง ดอกมีสีแดง ชมพู ส้ม ม่วง หรืออื่นๆ ชอบอยู่กลางแจ้ง ดูแลรักษาง่าย 
ชื่อวิทยาศาสตร์: Zinnia
สายพันธุ์ที่เหนือกว่าHeliantheae
ชั้นสกุล

ประโยชน์ของบานชื่น
• ใช้ปลูกเป็นไม้ดอกประดับตามหน้าบ้าน ปลูกจัดสวน และปลูกเป็นไม้กระถาง
• ใช้ปลูกเป็นไม้มงคลที่เชื่อว่าจะนำความร่มเย็นเป็นสุขมาให้แก่ครอบครัว เนื่องจากคำว่า บานชื่น เป็นคำมงคลที่แสดงถึงความเบิกบานมีความสุข
• ดอกบานชื่น นำมาตากแห้ง และบดเป็นผงสำหรับชงเป็นชาดื่ม
• ดอกบานชื่น นำมาสกัดสีย้อมผ้า
• ดอกบานชื่น นำมาบดเป็นผงสำหรับเป็นสีผสมอาหาร
• ดอกบานชื่น นำมาบดละลายน้ำใช้เป็นสีระบายภาพ

การปลูกบานชื่น
บานชื่นสามารถเจริญเติบโตได้ดีในที่โล่งแจ้ง เป็นพืชที่ชอบแสง สามารถปลูกได้ตลอดฤดู และทนต่อทุกสภาพได้ดี แต่ทั่วไปชอบดินร่วนปนทราย ดินมีอินทรีย์วัตถุสูง ดินมีความชื้น ไม่ชอบสภาพดินแฉะ มีน้ำขัง
การ ปลูกบานชื่นมีทั้งการปลูกในแปลง และการปลูกในกระถาง ซึ่งจะใช้วิธีการปลูกด้วยเมล็ดเท่านั้น แต่โดยทั่วไปมักนิยมปลูกในกระถาง เนื่องจาก เป็นไม้ดอกที่โตเร็ว ลำต้นไม่ใหญ่สูง มีอายุสั้น ให้ดอกใหญ่ สามารถเคลื่อนย้ายได้ง่าย แต่ก็พบปลูกในแปลงบ้างในลักษณะเพื่อประดับในโอกาสต่างๆ
การปลูกบานชื่นในกระถาง
การเตรียมดิน
นิยมเตรียมดินด้วยการผสมดินกับขี้เถ้าแกลบ อัตราส่วนดินกับขี้เถ้าที่ 1:1 หรือ 1:2 เนื่องจากจะให้น้ำหนักเบา และกกระถางที่ใช้จะเป็นกระถางพลาสติกขนาดไม่เกิน 10 นิ้ว ขึ้นอยู่กับปริมาณต้นที่ต้องการ
การปลูก
การปลูกจะใช้วิธีการหยอดเมล็ดลงในกระถาง หยอดเมล็ดลึก 2-3 ซม. กระถางละ 4-10 เมล็ด ขึ้นอยู่กับขนาดกระถาง หลังจากนั้น รดน้ำทุกวัน วันละ ครั้ง จนต้นเติบโต และออกดอก ซึ่งระยะหลังอาจรดน้ำเีพียง วัน/ครั้ง


ดอกช่อ



บานไม่รู้โรย 
เป็นพืชล้มลุกในสกุลบานไม่รู้โรย ดอกมีสีม่วง แดง ขาว ชมพู และม่วงอ่อน มีถิ่นกำเนิดในประเทศบราซิลปานามา และ กัวเตมาลา ในประเทศไทยมีชื่อพื้นเมืองอื่นคือ กะล่อม ดอกสามปีบ่เหี่ยว ดอกสามเดือน ตะล่อม และกุนหยี
ชื่อวิทยาศาสตร์: Gomphrena globosa
สายพันธุ์ที่เหนือกว่าสกุลบานไม่รู้โรย
ชั้นสปีชีส์

สรรพคุณทางยา ตำรายาพื้นบ้านของ ดอกบานไม่รู้โรย
เพราะดอกบานไม่รู้โรยถูกจัดให้เป็นดอกไม้สมุนไพรที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ โดยในตำรายาพื้นบ้านของไทยจะใช้ดอกบานไม่รู้โรยมาช่วยแก้อาการไข้ในผู้หญิงที่ไม่สบายเป็นไข้ทับฤดู เพื่อลดความร้อนในร่างกาย และยังสามารถใช้เป็นยาแก้อาการตกขาวในผู้หญิงได้ ซึ่งมักจะเกิดขึ้นกับผู้หญิงได้เสมอหากร่างกายอยู่ในภาวะไม่สมดุล ที่ต้องการการดูแลรักษาสุขภาพอย่างเร่งด่วน รวมทั้งมีสรรพคุณทางยาอีกมากที่น่าสนใจ
โดยลักษณะของดอกบานไม่รู้โรยจะประกอบด้วยดอกเล็กๆ จำนวนมากอยู่บนก้านช่อดอก ซึ่งส่วนใหญ่มีด้วยกัน สี คือ สีขาว สีม่วงเข้ม และสีชมพู แต่ในการนำมาใช้ประโยชน์เพื่อตกแต่งงานพิธีและรักษาโรคมักจะนิยมใช้ดอกบานไม่รู้โรยสีขาว เนื่องจากถือว่าดอกบานไม่รู้โรยสีขาวมีความบริสุทธิ์มากกว่าสีอื่นนั่นเอง
สรรพคุณของดอกบานไม่รู้โรย ประโยชน์ในการรักษาโรค
1. ดอกบานไม่รู้โรยเหมาะกับผู้หญิงที่อยู่ในช่วงมีประจำเดือน ซึ่งอาจมีอาการผิดปกติได้ง่ายอย่างการเป็นไข้ทับระดู เพราะฮอร์โมนในร่างกายกำลังมีการเปลี่ยนแปลง ทำให้ไม่มีความสมดุลกัน โดยจะช่วยแก้ไข้ทับระดูได้เป็นอย่างดี
2. ดอกบานไม่รู้โรยมีฤทธิ์ช่วยรักษาโรคมะเร็งมดลูก แก้ตกขาวและประจำเดือนมาไม่ปกติ โดยการนำดอกบานไม่รู้โรย 10-20 ดอก ต้มในน้ำเดือดประมาณ ลิตร ใช้ดื่มเมื่อมีอาการ และยังใช้แก้มดลูกหรือกะบังลมเคลื่อนได้ด้วย
3. ดอกบานไม่รู้โรยได้ถูกศึกษาทางเภสัชวิทยาพบว่า มีสรรพคุณช่วยละลายและขับเสมหะอย่างได้ผลชะงัดในทางการแพทย์แผนปัจจุบันจึงได้นำสารสกัดจากดอกมาเป็นยาฉีดเพื่อรักษาเสมหะกรณีที่มีมาก
4. ดอกบานไม่รู้โรยช่วยแก้อาการหอบหืด รักษาอาการไอรวมถึงการไอเป็นเลือดหรือไอกรน และบรรเทาหลอดลมอักเสบ
5. ดอกบานไม่รู้โรยมีสรรพคุณเป็นยารักษาอาการปวดหัว มีอาการเวียนหัวคล้ายจะเป็นลม
6. ประโยชน์ของดอกบานไม่รู้โรยใช้เป็นยาเพื่อแก้ตาเจ็บ ตามัว บำรุงดวงตาไม่ให้เกิดอาการผิดปกติได้
7. ดอกบานไม่รู้โรยมีสรรพคุณช่วยบำรุงปอดและตับ ทำให้การทำงานของปอดและตับดี ลดการเกิดโรคได้สูง และยังรักษาโรควัณโรคปอด
8. ดอกบานไม่รู้โรยมีคุณสมบัติช่วยขับปัสสาวะ แก้โรคเกี่ยวกับทางเดินปัสสาวะ รักษานิ่วในทางเดินปัสสาวะ และแก้ปัสสาวะติดขัด ปัสสาวะกะปริดกะปรอย
9. ดอกบานไม่รู้โรยช่วยลดอาการปวดท้อง บรรเทาอาการปวดหลัง ปวดเอว และปวดตามข้อเข่า
10. ดอกบานไม่รู้โรยเป็นยารักษาแผลผื่นคันและโรคผิวหนัง รวมทั้งช่วยแก้พิษต่างๆ ได้เป็นอย่างดี
11. ดอกบานไม่รู้โรยหากนำต้นสดมาตำแล้วใช้พอกแก้ฝีหนอง แต่หากต้มทั้งต้นแล้วดื่มน้ำจะช่วยรักษาอาการหนองในและโรคกามโรคได้
12. สรรพคุณของดอกบานไม่รู้โรยช่วยเพิ่มความสดชื่น ผ่อนคลายร่างกาย ดอกบานไม่รู้โรยยังนิยมนำมาตากแห้งแล้วใช้ชงเป็นชาดอกไม้ดื่มช่วยให้ร่างกายสดชื่น จิตใจรู้สึกผ่อนคลาย แต่ดอกอาจไม่มีกลิ่นหอมมากนัก สามารถจะใส่ดอกไม้แห้งที่มีกลิ่นหอมผสมด้วยก็ได้
13. ดอกบานไม่รู้โรยในรูปแบบของชาชงดื่มยังมีสรรพคุณช่วยปรับสมดุลของอารมณ์และจิตใจให้เป็นปกติ สงบและไม่รู้สึกกังวล ซึ่งจะส่งผลดีต่อร่างกายด้วย


การปลูกการเพาะเมล็ด
เป็นวิธีง่ายและสะดวกที่สุด เมล็ดบานไม่รู้โรย มีเปลือกหุ้มหนา ดังนั้นก่อนเพาะควรแช่น้ำประมาณ 3-4 ชั่วโมง เพื่อให้
เปลือกหุ้มเมล็ดดูดน้ำจนชุ่มเสียก่อน แล้วจึงนำไปเพาะในกระบะเพาะ ที่มีเถ้าแกลบผสมทรายอัตราส่วน 4 : 1 รดน้ำ
พอชุ่มทุกวันเมล็ด จะงอกภายใน 7-10 วัน พอกล้าเริ่มมีใบจริง 1-2 คู่ ก็ย้ายไปปลูกในแปลง
ระยะปลูก
ใช้ระยะ 30 x 30 เซนติเมตร หรือ 40 x 40 เซนติเมตร โดยปลูกหลุมละ ต้น
การดูแลรักษา
การให้ปุ๋ย
ใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตรา 10 กรัม/ต้น เดือนละครั้ง โดยครั้งแรกใส่หลังจากย้ายมาปลูกในแปลงประมาณ สัปดาห์
การให้น้ำ
บานไม่รู้โรยทนแล้งได้ดี สามารถให้น้ำสัปดาห์ละครั้งหรือถ้าปลูกในดินทรายควรให้สัปดาห์ละ 2-3 ครั้งเวลาที่เหมาะสม
ในการให้น้ำคือ เวลาในช่วงเช้าเพื่อลดการระบาดของเชื้อรา
การเด็ดยอด
เพื่อให้บานไม่รู้โรยแตกกิ่งก้านจำนวนมาก จึงมีการเด็ดยอดเมื่อต้นมีความสูงประมาณ 8-10 นิ้ว ยอดที่เด็ดออกควรยาว
ประมาณ 0.5-1 นิ้ว การแตกกิ่งก้านมากจะเป็นการเพิ่มปริมาณดอกมากขึ้นด้วย



ดอกช่อ


ดาวกระจาย 
เป็นชื่อไม้ล้มลุกชนิด C. sulphureus Cav. ในสกุล Cosmos วงศ์ Compositae ดอกสีเหลือง ชื่อพื้นเมืองว่า ดาวเรืองพม่า คำแพ คำเมืองไหว และคำอังวะ
ชื่อวิทยาศาสตร์: Cosmos sulphureus
สายพันธุ์ที่เหนือกว่าดาวกระจาย
ชั้นสปีชีส์


สรรพคุณดาวกระจาย
– ดอกนำมาบดหรือขยี้ก่อนใช้ทารักษาพิษแมลงกัดต่อย
– ดอกนำมาบดทารักษาบาดแผล
– ดอกใช้ต้มดื่ม แก้อาการท้องเสีย
ประโยชน์ดาวกระจาย
1. ดาวกระจาย ต้น ออกดอกหลายดอก มีก้านดอกชูยาว จึงนิยมปลูกประดับแปลงเป็นหลัก ทั้งแปลงจัดสวนขนาดใหญ่ และขนาดเล็ก แต่ไม่นิยมปลูกในกระถาง เพราะปลูกได้จำนวนต้นน้อย หรือปลูกเพื่อตัดดอกใส่แจกัญ เพราะดอกจะเหี่ยวเร็ว
2. ดอกดาวกระจายใช้สกัดสีสำหรับเป็นสีผสมอาหารหรือใช้ในการย้อมผ้า
3. ดอกดาวกระจายใช้เป็นส่วนผสมในอาหารสัตว์ โดยเฉพาะเป็ด และไก่ เพื่อช่วยให้ไข่แดงมีสีเข้มขึ้น
4. ดอกดาวกระจายนำมาบดขยำ และผสมน้ำเล็กน้อย ใช้สำหรับระบายสีภาพ
5. ดาวกระจายใช้ปลูกรอบแปลงเกษตร ใช้สำหรับล่อแมลงผสมเกสร

การปลูกดาวกระจาย
การปลูกดาวกระจาย นิยมปลูกลงแปลงเป็นส่วนใหญ่ เพราะเมื่อดอกบานจะบานพร้อมกัน และมีจำนวนมาก ทำให้แลดูสวยงามทั่วทั้งแปลง แหล่งผลิตเมล็ดพันธุ์ดาวกระจายอยู่ที่ภาคเหนือ และภาคอีสานเป็นส่วนใหญ่
การเตรียมแปลง
การปลูกดาวกระจาย นิยมปลูกแบบลงแปลง ดังนั้น แปลงปลูกจะต้องไถพรวนดินอย่างน้อย ครั้ง และควรกำจัดวัชพืชออกให้หมด เพื่อไม่ให้เติบโตแข่งดาวกระจาย ทั้งนี้ ควรเตรียมแปลงในช่วงแดดออกติดต่อกัน อย่างน้อย 3-5 วัน เพื่อให้วัชพืชเหลือน้อยที่สุด
วิธีปลูก และระยะปลูก
วิธีปลูกดาวกระจายในแปลง นิยมใช้การหว่านเมล็ด และการหยอดเมล็ด โดยแบบหว่านเมล็ด ควรหว่านให้เมล็ดมีระยะห่างอย่างน้อยประมาณ 15-20 เซนติเมตร จากนั้น ไถคราดตื้นๆกลบหน้าดิน
ส่วนการหยอดเมล็ดจะใช้วิธีขุดหลุม ลึกประมาณ 3-5 เซนติเมตร ก่อนหยอดเมล็ดหลุมละ 2-3 เมล็ด ระยะห่างของหลุมที่ 30 เซนติเมตร ระยะห่างแถวที่ 40-50 เซนติเมตร ทั้งนี้ อาจเพาะกล้าให้มีใบจริงก่อน 3-5 ใบ จากนั้น ค่อยย้ายลงปลูกลงหลุม หลุมละ 1-2 ต้น
การให้น้ำ
การปลูกดาวกระจายส่วนมาก นิยมปลูกในต้นฤดูฝน-ปลายฤดูหนาว ซึ่งจะอาศัยน้ำฝนตามธรรมชาติ แต่หากปลูกในหน้าแล้งควรให้น้ำอย่างน้อย วัน/ครั้ง โดยเฉพาะระยะ วันแรกหลังเพาะกล้า และย้ายปลูก
การกำจัดวัชพืช
ต้นดาวกระจาย เป็นพืชที่โตเร็ว สามารถเติบโตแข่งกับวัชพืชได้ดี ดังนั้น จึงไม่นิยมกำจัดวัชพืช แต่จะต้องกำจัดวัชพืชในขั้นตอนเตรียมแปลงให้หมดก่อน และหากมีวัชพืชอื่นที่โตเร็ว ก็ควรมั่นถอนทิ้งเป็นประจำ
การใส่ปุ๋ย
– ในระยะ 14-20 วัน หลังปลูก ให้ใส่ปุ๋ยสูตร 16-8-8 ร่วมกับปุ๋ยคอก
– ระยะ 35-40 วัน หลังปลูก ให้ใส่ปุ๋ยสูตร 8-16-24
การออกดอก
หลังปลูกได้ประมาณ 50-55 วัน ดอกดาวกระจาจะเริ่มบาน และบานได้นานหลายวัน จากนั้น ก็จะร่วง และติดเมล็ด แต่จะทยอยออกดอกชุดใหม่เรื่อย 3-4 ชุด


ดอกช่อ


หน้าวัว 
เป็นสกุลของพืชในวงศ์หน้าวัว มีถิ่นกำเนิดในฮาวาย ปัจจุบันกระจายพันธุ์ได้เกือบทุกทวีป แต่จะเจริญดีในภูมิอากาศแบบร้อนหรือร้อนชื้น จากฐานข้อมูลพืช ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย เต็ม สมิตินันท์ ได้รายงานไว้ว่าเกี่ยวกับ "ชื่อค้นหา" ของคำว่า "หน้าวัว"
ชื่อวิทยาศาสตร์: Anthurium
สายพันธุ์ที่เหนือกว่าวงศ์บอน
ชั้นสกุล


วิธีการปลูกดอกหน้าวัว
ไม้ดอกสกุลหน้าวัวสามารถปลูกได้ทั้งในกระถางและปลูกลงแปลง ส่าหรับ เกษตรกรไทยนั้นนิยมปลูกในกระถาง เนื่องจากสะดวกในการจำหน่ายต้นพันธุ์ อย่างไรก็ตามไม่ว่าจะปลูกในกระถางหรือปลูกลงแปลง ควรเลือกเครี่องปลูกให้ เหมาะสม ส่าหรับในประเทศไทยเครื่องปลูกที่ดีที่สุดคือ อิฐมอญทุบขนาดเส้นผ่า ศูนย์กลาง l.5 - 3.0 เชนติเมตร เพราะสามารถเก็บความชื้นได้ดีและมีความคงทน สูง นอกจากนี้การเลือกขนาดอิฐทุบที่เหมาะสม ยังทำให้สามารถควบคุมการระบาย อากาศได้ตามต้องการอีกด้วย อนึ่งการปลูกด้วยอิฐมอญทุบในสภาพที่ค่อนข้าง แห้ง อาจเติมถ่านแกลบหรือกาบมะพรัาวสับเพี่อช่วยเก็บความชื้นคัวยก็ได้ อย่างไรก็ ตาม ผู้ปลูกควรทดลองปลูกด้วยอิฐมอญทุบจำนวนน้อยต้นก่อน เนี่องจากคุณภาพดิน ที่ใช้ทำอิฐมอญชี่งแตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่นมีผลต่อการเจริญเติบโตของพืช ด้วย นอกจากอิฐมอญทุบแล้วอาจใช้กาบมะพร้าวเป็นเครื่องปลูกก็ได้ แต่ต้องหมั่น เติมเครี่องปลูกบ่อย ๆ เพราะกาบมะพร้าวผุพังง่าย 

การปลูกดอกหน้าวัวในกระถาง
กระทำได้ไดยวางอิฐหักเปิดรูระบายน้ำที่บริเวณก้นกระถางเสียก่อน จากนั้นวางโคนต้นบนเศษอิฐหักนั้น โดยให้ต้นอยู่ตรงกลางกระถางและรากกระจาย อยู่โดยรอบ นำอิฐมอญทุบขนาดใหญ่ที่แต่ละก้อนมีความยาวด้านละประมาณ เชนติเมตร ใส่รอบโคนต้นประมาณครึ่งกระถาง แล้วนำอิฐมอญทุบที่มีก้อนขนาด เล็กกว่าเดิมครึ่งหนึ่งมาใส่จนมีระดับต่ำกว่าปลายยอดประมาณ เชนติเมตร หรือ ใส่จนเต็มกระถางในกรณีที่ต้นค่อนข้างสูง หากโรงเรือนตั้งอยู่ในบริเวณที่มีสภาพ อากาศที่ค่อนข้างแห้ง อาจใส่ใยมะพร้าวบนผิวเครี่องปลูกเพื่อช่วยเพิ่มความชุ่ม ชื้น ทั้งนี้การใช้จานรองกระถางก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยเพิ่มความชื้นให้แก่พืชได้

การปลูกดอกหน้าวัวลงแปลง
กระทำได้โดยกั้นขอบแปลงด้วยอิฐบล็อกหรือตาข่ายกรงไก่ให้ มีความสูงราว 30 เซนติเมตร พื้นแปลงควรทำเป็นสันนูนมีลักษณะคล้ายหลังเต่าเพื่อ ให้น้ำสามารถระบายออกทางด้านข้างแปลงได้โดยไม่ขังแฉะ และควรใช้ผ้าพลาสติก ปูพื้นแปลงเพี่อปัองกันไส้เดือนดิน จากนั้นจึงใส่เครี่องปลูกลงในแปลงให้มีความ หนาประมาณ 5 - 10 เซนติเมตร เสร็จแล้วปักหลักลงในแปลง ผูกต้นให้ตั้งตรงและ โคนต้นชิดกับเครี่องปลูกโดยให้รากแผ่กระจายบนเครื่องปลูกแล้วจึงเติมเดรี่อง ปลูกลงไปคล้ายกับการปลูกในกระถาง คือใส่ให้มากที่สุดโดยไม่กลบยอด
โดยปกติแล้วการปลูกไม้ดอกสกุลหน้าวัวนี้ จะปลูกให้แต่ละต้นห่าง กันไม่น้อยกว่า 30 เชนติเมตร ซึ่งถ้าเป็นการปลูกในกระถาง ก็อาจปลูกในกระถาง ขนาด 12 นิ้วแล้วนำมาวางชิดกัน หลังจากปลูกแล้วจะต้องหมั่นเติมเครื่องปลูกอยู่ เสมอ อย่าปล่อยให้เครื่องปลูกอยู่ในระดับที่ห่างจากยอดเกิน 30 เซนติเมตร เพราะ การที่ยอดอยู่สูงเหนือเดรี่องปลูกมาก ๆ จะมีผลทำให้ต้นเจริญเติบโตได้ไม่ดีเท่าที่ควร

การดูแลรักษาดอกหน้าวัว
การให้น้ำ
ควรเลือกใบ้ระบบสปริงเกอร์หรือระบบน้ำเหวี่ยง โดยอาจใช้ระบบที่หัว พ่นน้ำตั้งบนพื้น การให้น้ำระบบนี้จะช่วยให้ความชื้นในโรงเรือนอยู่ในระดับ สูง ปกติจะให้น้ำวันละ ครั้ง โดยในแต่ละครั้งจะเปิดน้ำให้คราวละ 10 - 15 นาที การให้น้ำควรแบ่งทยอยเปิดน้ำภายในโรงเรือนเป็นส่วน ๆ ไปเพี่อรักษาความชื้น ในโรงเรือน ไม่ควรให้น้ำพร้อมกันทั้งโรงเรือน อนึ่งในช่วงที่มีสภาพอากาศ แห้ง อาจจะต้องให้น้ำถึงวันละ ครั้ง 
การให้ปุ๋ย
ควรให้ปุ๋ยเม็ดสูตรเสมอ เช่น ปุ๋ยสูตร 15-15-15 โรยรอบชายพุ่ม หรือรอบโคนต้นเดือนละครั้ง ในอัตราต้นละ ช้อนโต๊ะ (20 กรัม) และอาจใช้ปุ๋ย เกร็ดละลายน้ำสูตร 15-30-15 หรือะ 17-34-17 อัตรา 40 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร (ปี๊บ) ฉีดพ่นเสริมให้ทุก 15 วัน จะช่วยให้ต้นเจริญเติบโตได้ดีและออกดอกดก

การตัดแต่ง
ควรตัดแต่งใบออกบ้างในช่วงปลายเดือนพฤษภาคมของทุกปี โดยตัดให้ เหลือเพียงยอดละ 3 - 4 ใบ ทั้งนี้ก็เพื่อให้บริเวณโคนต้นมีการระบายอากาศได้ดีขึ้นใน ช่วงฤดูฝน อีกทั้งการตัดใบจะช่วยให้มีโรคและแมลงลดลง โดยไม่ทำให้การเจริญ เติบโตหรือจำนวนดอกลดลงแต่อย่างใด

การขยายพันธุ์
ในการปลูกไม้ดอกสกุลหน้าวัวเพื่อการค้านิยมการขยายพันธุ์แบบไม่อาศัย เพศหรือที่เรียกว่าการขยายโคลน เพราะต้นที่ได้จากการเพาะเมล็ดมีโอกาสที่จะกลาย พันธุ์ไปจากต้นเดิมได้สูงมาก การขยายโคลนให้ได้ต้นที่ตรงตามพันธุ์เดิมอาจกระทำ ได้ดังนี้

การตัดดอก
เป็นวิธีที่นิยมทำกันมาก สามารถทำได้ทั้งในขณะที่ยังเป็นต้นกล้าขนาด เล็กชึ่งได้จาการเพาะเลี้ยงเนื้อเยี่อ และต้นขนาดใหญ่ที่สูงเกินไปคือ ยอดสูงกว่า เครื่องปลูกเกิน 60 เชนติเมตร โดยตัดให้มีใบติดยอดมาด้วยประมาณ 4 - 5 ใบ และหากมีรากติดยอดที่ตัดมาด้วย จะทำให้ต้นตั้งตัวและเจริญเติบโตเร็ว แต่ถ้าไม่มี รากติดยอดมาเลย ในช่วงแรกจะต้องนำยอดที่ตัดมานี้ไปชำไว้ในที่ซึ่งมีความชื้นสูง มากก่อน รอจนยอดแตกรากและรากมีขนาดใหญ่พอสมควรแล้ว จึงย้ายไปไว้ในโรงเรือนตามปกติ

การตัดหน่อ
นิยมตัดหน่อที่มีรากแล้ว 2-3 ราก ซึ่งหน่อที่ตัดนี้อาจเกิดมาจากโคนต้น ของพันธุ์ที่มีหน่อดอก หรือเกิดจากตอที่ตัดยอดและหน่อไปแล้วหรือเกิดจากการชำ การรีบตัดหน่อ ในขณะที่ยังมีขนาดเล็กจะทำให้ต้นตั้งตัวช้า จึงควรทิ้งให้หน่อมีขนาดใหญ่และมีรากพอสมควรก่อน

การปักชำ
วิธีนี้จะทำกับต้นตอที่เมื่อตัดยอดไปแล้วไม่เหลือใบติดอยู่ ซึ่งปกติจะ เป็นต้นที่มีอายุมากอาจปักชำทั้งต้นหรือตัดต้นเป็นท่อน ๆ ก่อนแล้วจีงนำไปปักชำ โดยที่แต่ละท่อนจะต้องมีข้อติดไปด้วยอย่างน้อย ข้อ ในการปักชำจะต้องวาง ต้นให้ทำมุมกับวัสดุปักชำ 30-45 องศา โดยให้ตาหันออกด้านข้างเพราะจะทำให้ได้ หน่อในปริมาณมาก วัสดุปักชำอาจใช้อิฐมอญทุบละเอียด หรือทรายหยาบผสมถ่าน แกลบก็ได้ ควรปักชำในบริเวณที่มีแสงน้อยกว่าปกติ ถ้าเป็นการปักชำในกระบะชำ จะต้องควบคุมความชื้นให้อยู่ในระดับสูงอยู่เสมอแต่ไม่แฉะ

การเพาะเนื้อเยื่อ
วิธีนี้เกษตรกรจะต้องพึ่งบริการจากห้องปฎิบัติการเชิงการค้า โดยจะใช้ ใบอ่อนที่ยังม้วนอยู่ไปขยายพันธุ์ ซึ่งต้นพันธุ์ที่คัดเลือก ไว้เพื่อขยายพันธุ์โดยวิธีเพาะ เลี้ยงเนื้อเยี่อนี้ จะต้องได้รับการดูแลรักษาเป็นพิเศษ คือในการรดน้ำจะต้องรด เฉพาะบริเวณโคนต้นเท่านั้น การขยายพันธุ์วิธีนี้จะกระทำในกรณีที่ต้องการต้นพันธุ์ ในปริมาณมาก เช่น10,000 ต้น ในเวลา 2 - 2.5 ปี อย่างไรก็ตาม ต้นพันธุ์ที่ได้จากการ เพาะเลี้ยงเนื้อเยือจะมีขนาดเล็ก จึงต้องปลูกในบริเวณที่ร่มและมีความชื้นสูง โดย เฉพา อย่างยิ่งในระยะที่นำออกจากขวดใหม่ ๆ

การตัดดอก
ไม้ดอกสกุลนี้มีอายุการใช้งานค่อนข้างนาน คือไม่ควรต่ำกว่า 10 วัน ในระยะ ที่จานรองดอกเริ่มคลี่จะมีสีสดใสมากแต่ความสดใสจะลดลงเมื่ออายุมากขึ้น ส่าหรับอายุการปักแจกันนั้นจะเพิ่มขึ้นเมื่อรอให้ดอกบานบนต้นนานขึ้นจนถึงระยะ ที่ปลีเปลี่ยนสีทั้งปลีแล้วจากนั้นอายุการปักแจกันของดอกจะลดลง ปกติระยะที่เหมาะสม ที่สุดในการตัดดอกคือในระยะที่ปลีเปลี่ยนสีหรือเกสรตัวเมียชูขึ้นเหนือดอกแล้ว ครึ่งปลี ซึ่งเมื่อตัดดอกแล้วควรจุ่มมีดในน้ำยาฆ่าเชื้อเช่น ฟายแชน -20 (Physan-20) ในอัตรา ชีชีต่อน้ำ ลิตร ทุกครั้ง เพื่อป้องกันกันการแพร่ระบาดของเชื้อแบคทีเรีย และไวรัส ดอกที่ตัดมาแล้วก็ควรแช่ในน้ำสะอาดและวางไว้ในร่มก่อนที่จะจัดส่ง ไปจำหน่ายต่อไป ทิ้งนี้ต้องระวังอย่าวางดอกไว้ในที่แห้งโดยไม่แช่น้ำ